What is Alfresco HTML Dynamic Watermark?

Alfresco HTML Dynamic Watermark (ลายน้ำแบบไดนามิก) เป็นฟังก์ชั่นใช้งานเสริม (Addon) พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันเอกสารของทาง Skytizens ที่สามารถสร้างลายน้ำได้จำนวนมหาศาลอย่างไม่จำกัด เพื่อนำไปแสดงบนเอกสารของผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติ โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) เป็นผู้ที่สามารถเพิ่มลายน้ำรูปแบบต่างๆ ได้เพียงผู้เดียว ลายนี้แบบไดมามิกนี้สามารถเพิ่มรูปภาพ โลโก้ ตัวอักษร และปรับแต่งผ่านคำสั่งพิเศษของ Code HTML ได้ อีกทั้งยังรองรับเอกสารรูปแบบต่างๆ รวมถึงไฟล์รูปภาพได้อย่างหลากหลาย

นอกจากนี้ Alfresco Dynamic Watermark (ลายน้ำแบบไดนามิก) ยังสามารถดาวน์โหลดเอกสารพร้อมลายน้ำและปราศจากลายน้ำได้ ด้วยการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน (User) ภายในไซต์ โฟลเดอร์ กลุ่ม และไฟล์ เป็นต้น ทำให้สามารถเข้าถึงลายน้ำได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้การใช้งานลายน้ำมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด และครอบคลุมการใช้งานในรูปแบบต่างๆได้อย่างครบครัน

ด้วย Dynamic Watermark (ลายน้ำแบบไดนามิก) ช่วยสร้างความปลอดภัยให้แก่องค์กรจากการดัดแปลงข้อมูลเอกสาร แก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่เอกสาร โจรกรรมเอกสาร และยังแสดงกรรมสิทธิ์ขององค์กร อีกทั้งยังมีหน้าที่ป้องกันเอกสาร เนื้อหาเอกสารได้โดยเฉพาะ

Why is Alfresco Dynamic Watermark so important?

โดยทั่วไปแล้วลายน้ำมีความสำคัญในการแสตมป์เอกสาร สร้างลายเซ็น ระบุแหล่งที่มา แสดงเครื่องหมายผลิตภัณท์ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงต่างๆ สำหรับเครื่องมือการสร้างลายน้ำแบบไดนามิก (Dynamic Watermark) ถูกพัฒนามาเพื่อสร้างลายน้ำบนระบบ Alfresco โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ และข้อดีต่างๆ ดังนี้

  • ป้องกันเนื้อหาของเอกสารป้องกันการคัดลอก นำเอกสารไปใช้ได้ และปลอมแปลงข้อมูล
  • ปรับแต่งได้อย่างอิสระ – สามารถเพิ่มรูปภาพ ปรับขนาด เปลี่ยนฟอนต์ ปรับความโปร่งใส ปรับหมุนตำแหน่ง ใส่ตาราง และอื่นๆ
  • ระบุตัวตนผู้ใช้งาน – แสดงสถานะของ User ด้วยลายน้ำ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน และชื่อเอกสาร เป็นต้น เพื่อบ่งบอกที่มาของเอกสาร
  • ง่ายต่อการติดตาม – หากเอกสารถูกนำไปใช้หรือเผยแพร่บนเว็บไซต์ก็สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดได้ง่าย
  • แสดงกรรมสิทธิ์ – แสดงชื่อหรือโลโก้ของบริษัทเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
  • ประหยัดเวลา – ลดระยะเวลาในการสร้างและใส่ลายน้ำในเอกสาร
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย – ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างตำแหน่งเพิ่มเติมสำหรับสร้าง-ออกแบบลายน้ำ หรือตรวจสอบเอกสารโดยเฉพาะ
  • ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล – ยากต่อการขโมยข้อมูลของเอกสารด้วยการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของผู้ใช้

How Does Dynamic Watermark Work?

ฟังก์ชันการใช้งานพิเศษนี้อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบ (Admin) สามารถสร้างและกำหนดค่าลายน้ำได้โดยเฉพาะ ซึ่งรวมไปถึงการเปิดใช้งาน อนุญาตสิทธิ์การมองเห็น เลือกลายน้ำ และอื่นๆ โดยแอดมินจะกำหนดได้ว่าผู้ใดสามารถใช้งานในส่วนไหนได้บ้าง ซึ่งผู้ใช้อื่นไม่สามารถตั้งค่าในส่วนนี้ได้

จากนั้นผู้ดูแลระบบจะควบคุมสิทธิ์เพื่อระบุการแสดงผลลัพธ์ลายน้ำต่างๆ บนเอกสาร เพื่อคัดกรองสถานะของผู้มีสิทธิ์เข้าถึงเอกสารได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยและป้องกันข้อมูลของเอกสารรั่วไหล ซึ่งมี Role สำหรับกำหนดการมองเห็นและดาวน์โหลดลายน้ำ ภายในไซต์ โฟลเดอร์ และเอกสาร โดยแบ่งได้เป็น 2 สิทธิ์ ดังนี้

  • Watermark View – ผู้ใช้สามารถเปิดดูเอกสารพร้อมลายน้ำได้เท่านั้น ไม่สามารถดาวน์โหลดได้
  • Watermark View and Download – ผู้ใช้สามารถเปิดดูและดาวน์โหลดเอกสารพร้อมลายน้ำได้

สิทธิ์เหล่านี้ช่วยให้องค์กรและบริษัทสามารถกำหนดขอบเขตการมองเห็นของผู้ใช้ได้อย่างยืดหยุ่น หลากหลาย และสามารถ Manage Permission (จัดการสิทธิ์) ให้ User มองเห็นลายน้ำที่แตกต่างกันในแต่ละโฟลเดอร์ได้ อีกทั้งยังจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงปุ่มดาวน์โหลดของผู้ใช้ที่เป็น Lowconsumer หรือสิทธิ์ Watermark View เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลขององค์กร

นอกจากนี้ Dynamic Watermark ยังสามารถปรับแต่งด้วย Code HTML เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดการลายน้ำได้อย่างอิสระ โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) สามารถสร้าง จัดการลายน้ำด้วยคำสั่ง HTML และสามารถเพิ่มส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแถบ Toolbar เช่น ปรับขนาดตัวหนังสือ ปรับฟอนต์ เพิ่มสี และอื่นๆ ซึ่งมาพร้อมกับคำสั่งสำหรับระบุตัวตน แหล่งที่มา วันเวลา ชื่อเอกสาร และอื่นๆ เป็นต้น เพื่อแสดงข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาด

Dynamic Watermark Main Features

การเข้าถึงหน้าแรกของเครื่องมือจัดการลายน้ำสามารถทำได้โดยเข้าไปที่แถบ Admin Tools จากนั้นให้เลือกเมาส์ไปที่แถบ HTML Dynamic Watermark ในหมวด Skytizens Features

เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ของ Dynamic Watermark สำหรับการตั้งค่าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการอธิบายหน้าที่ ความสำคัญของส่วนประกอบหลักบนหน้าแรกของการสร้างลายน้ำ

โดยปกติแล้วหน้าแรกจะว่างเปล่าและไม่แสดงองค์ประกอบของลายน้ำหากยังไม่มีการสร้างลายน้ำใดๆ  แต่ถ้าหากมีลายน้ำที่สร้างไว้แล้ว ระบบจะแสดงหน้าสถานะต่างๆ ของลายน้ำ ดังภาพที่ 1

ภาพที่
ภาพที่ 1 แสดงหน้าแรกและองค์ประกอบต่างๆของลายน้ำ

ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • Name – แสดงชื่อลายน้ำ
  • Description – แสดงคำอธิบายของลายน้ำ
  • Creator – ชื่อผู้สร้างลายน้ำ
  • Created Date – วันที่สร้าง ปี เดือน วัน
  • Default – แสดงสถานะเริ่มต้นขอลายน้ำ
  • Status – แสดงสถานะของลายน้ำ ได้แก่ Enabled (เปิดการใช้งาน), Disabled (ปิดการใช้งาน), In use (กำลังใช้งาน)
  • Actions – คำสั่ง ประกอบไปด้วยแก้ไข (Edit) และลบ (Delete)
  • Create – ปุ่มสร้างลายน้ำ

Creating Dynamic Watermark

เริ่มต้นการสร้างลายน้ำสามารถทำได้โดยการนำเมาส์ไปคลิกที่ปุ่ม Create ด้านล่าง เพื่อทำการสร้างลายน้ำได้ทันที ซึ่งจะปรากฏหน้าต่างและส่วนประกอบต่างๆ สำหรับจัดการลายน้ำ ดังภาพที่ 2

เมื่อคลิกปุ่ม Create จะปรากฏหน้าต่างการตั้งค่าของ HTML Dynamic Watermark จะมีส่วนประกอบต่างๆ สำหรับกำหนดค่าและจัดการรูปแบบลายน้ำ ซึ่งจะแบ่งส่วนการใช้งานเป็น 3 ส่วน ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดงส่วนประกอบต่างๆ ในการสร้างลายน้ำ

หมายเลขที่ 1 เป็นการกรอกข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดลายน้ำ ประกอบด้วย

  • Watermark Name – ใส่ชื่อลายน้ำ (ต้องระบุ)
  • Description – เพิ่มคำอธิบาย
  • Priority – กำหนดลำดับความสำคัญด้วยตัวเลข เช่น สำคัญมาก = 1, สำคัญ = 2, ปานกลาง = 3 (ต้องระบุ)
  • Rotation – ปรับหมุนองศาของลายน้ำบนหน้ากระดาษได้ 360 องศา
  • Opacity – ปรับความเข้มลายน้ำจาก 100 ไป 0
  • Horizontal – ปรับขนาดตามแนวนอน สามารถปรับไปทางซ้าย (Left), ขวา (Right) กลาง (Center), ทำซ้ำ (Repeat), ขนาดพอดี (Fit)
  • Vertical – ปรับขนาดตามแนวตั้ง สามารถปรับไปทางซ้าย (Left), ขวา (Right) กลาง (Center), ทำซ้ำ (Repeat), ขนาดพอดี (Fit)
  • Status – ตั้งค่าการเปิดใช้งาน (Enable) หรือปิดการใช้งาน (Disable) ของสถานะ 

หมายเลขที่ 2 จะอยู่ในส่วนของ Text Editor ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อและแถบเครื่องมือ (Toolbar) สำหรับจัดการตัวอักษร ข้อความ จัดลำดับ จัดเรียงบรรทัด เปลี่ยนสีตัวหนังสือ แทรกลิงค์เว็บไซต์  และรูปภาพ เป็นต้น ซึ่งมีองค์ประกอบเพิ่มเติมดังต่อนี้ ตามภาพที่ 3 ข้างต้น

  • File (แฟ้ม) – เป็นหัวข้อเริ่มต้นของ Text Editor ประกอบด้วย New Document (สร้างหน้าใหม่), Print (ถ่ายเอกสาร)
  • Edit (แก้ไข) – เป็นหัวข้อสำหรับแก้ไขตัวหนังสือ ประกอบด้วย Undo (เลิกทำ), Redo (ทำซ้ำ), Cut (ตัด), Copy (คัดลอก), Paste (วาง), Paste as text (วางเป็นข้อความ), Select all (เลือกทั้งหมด), และ Find and replace (ค้นหาและแทนที่)
  • Insert (แทรก) – เป็นการเพิ่มสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากตัวหนังสือ ประกอบด้วย Insert link (แทรกลิงค์), Insert Image (แทรกรูปภาพ), Special character (แทรกอักขระพิเศษ), Horizontal line (แทรกเส้นแนวนอน), Anchor (ตรึงหัวข้อ), Page break (แบ่งหน้า), และ Nonbreaking space (ไม่แยกระยะห่าง)
  • View (มุมมอง) – เปลี่ยนมุมมองการจัดการลายน้ำต่างๆ ประกอบด้วย Fullscreen (เต็มจอ)Preview (ดูตัวอย่าง)Show blocks (แสดงเส้นบรรทัด)Source Code (แสดงคำสั่ง)
  • Format (รูปแบบตัวอักษร)เป็นการจัดการรูปแบบตัวหนังสือ ประกอบด้วย Bold (แบบหนา)Italic (แบบเอียง)Underline (ขีดเส้นใต้)Strikethrough (ขีดทับ)Superscript (ยกกำลัง) ,Subscript (ตัวอักษรแบบห้อย)Formats (ขนาดตัวอักษร)ประกอบด้วย Heading (หัวเรื่อง), Inline (ในบรรทัด), Blocks (หัวเรื่อง), Alignment (หัวเรื่อง),Clear formatting (ล้างทุกรูปแบบ)
  • Table (ตาราง) – เป็นการสร้างตารางของลายน้ำได้ ประกอบด้วย
    • Insert Table (แทรกตาราง)
    • Table Properties (จัดการคุณสมบัติของตาราง)
    • Delete table (ลบตาราง)
    • Cell (ช่องภายในตาราง) ประกอบด้วย Cell Properties (จัดการคุณสมบัติขอช่อง), Merge Cells (รวมช่อง), Split Cell (แยกช่อง)
    • Row (แถวของตาราง) – ประกอบด้วย Insert row before (เพิ่มตารางบน), Insert row after (เพิ่มตารางล่าง), Delete row (ลบตาราง), Row Properties (จัดการตาราง), Cut row (ตัด), Copy row (คัดลอก), Paste row before (วางข้างบน) และ Paste row after (วางข้างล่าง)
    • Column (คอลัมน์ของตาราง) – ประกอบด้วยInsert column before (เพิ่มส่วนหน้า), Insert column after (เพิ่มส่วนท้าย), และ Delete column (ลบคอลัมน์)
  • Help (ช่วยเหลือ) – เป็นตัวช่วยในการใส่ข้อมูลด้วยคำสั่ง HTML เพื่อแสดงผลบนลายน้ำ

หมายเลขที่ 3 จะประกอบด้วยปุ่มหลัก 3 ปุ่ม ตามภาพข้างต้น ได้แก่

  • Preview – สามารถดูตัวอย่างลายน้ำพร้อมเอกสาร ในหน้านี้สามารถกำหนดค่าองศาของลายน้ำ (Rotation), ความโปร่งใส (Opacity), กำหนดแนวนอน (Horizontal), กำหนดแนวตั้ง (Vertical), ตกลง (OK), ยกเลิก (Cancel)
  • Cancel – ยกเลิกการสร้างลายน้ำ
  • Save – บันทึกการสร้างลายน้ำ

เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้งานอย่างละเอียด โดยจะแบ่งการใช้งานออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

  • Add Information

เริ่มต้นด้วยการเพิ่มข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่างๆ อันดับแรกผู้ดูแลระบบ (Admin) ต้องกรอกชื่อลายน้ำ (Watermark name), คำอธิบาย (Description), และใส่เลขเพื่อแสดงระดับความสำคัญ (Priority) ซึ่งจะปรากฏบนหน้าแรกของการตั้งค่าลายน้ำ ดังภาพที่ 4 ต่อไปนี้

ภาพที่ 4 แสดงการกรอกข้อมูลในชื่อลายน้ำ คำอธิบาย และลำดับความสำคัญ
  • Writing Text

  1. เริ่มต้นการสร้างลายน้ำด้วยการคลิกที่ช่องว่างใน Text Editir จากนั้นเพิ่มข้อความต่างๆลงไป เช่น ชื่อบริษัท ชื่อแผนก และใส่ข้อความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 แสดงวิธีการใส่ข้อความต่างๆลงใน Text editor

จากนั้นคลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่าง ซึ่งจะปรากฏข้อความตามที่ใส่ลงไปใน Text editor ดังภาพที่ 6

ภาพที่ 6 แสดงรูปตัวอย่างหลังจากใส่ข้อความ

2. Admin สามารถปรับขนาดตัวหนังสือ เปลี่ยนฟอนต์ และจัดบรรทัดได้ โดยคลิกไปที่ Format จากนั้นเลือก Formats หรือคลิกไปที่ไอคอนตรงแถบ Toolbar ด้านบนก็สามารถจัดบรรทัดและปรับเปลี่ยนตารางได้ โดยจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 4 ส่วน สำหรับจัดการฟอนต์และขนาด

โดยองค์ประกอบต่างๆ มีคำอธิบาย ดังต่อไปนี้

  • Heading (หัวเรื่อง) – เป็นการปรับฟอนต์แบบหนาโดยมีขนาดตัวหนังสือ 6 ขนาด ได้แก่ Heading 1 (ขนาดใหญ่มาก), Heading 2 – (ขนาดใหญ่), Heading 3 – (ขนาดกลาง), Heading 4 (ขนาดกลางค่อนข้างเล็ก), Heading 5 (ขนาดเล็ก), Heading 6 (ขนาดเล็กมาก)
  • Inline (ในบรรทัด) – เป็นการจัดการรูปแบบของตัวหนังสือ ซึ่งมี 7 รูปแบบ คือ ฺBold (แบบหนา), Italic (แบบเอียง), Underline (ขีดเส้นใต้), Strikethrough – (ขีดเส้นทับ), Supercript (ยกกำลัง), Subscript (ห้อยท้าย), Code (แบบโค้ด)
  • Blocks (ฟอนต์แบบกลุ่ม) – เป็นการเลือกฟอนต์ต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้ Paragraph (ฟอนต์ทั่วไป), Blockquote (ยกข้อความทั้งย่อหน้า), Div (ให้บรรทัดติดกัน), Pre (ฟอนต์สำหรับนักพัฒนา)
  • Alignment (หัวเรื่อง) – เป็นการปรับตำแหน่งของรูปภาพและตัวหนังสือได้ ประกอบไปด้วย Left (ซ้าย), Center (กลาง), Right (ขวา), Justify (ปรับให้ตรงกัน)

เมื่อเลือกเสร็จ จะปรากฏรูปแบบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ ดังภาพที่ 7 ต่อไปนี้

ภาพที่ 7 แสดงวิธีการจัดการรูปแบบตัวหนังสือต่างๆ

เมื่อคลิกที่ Preview จะปรากฏข้อความที่กำหนดไว้ ดังภาพที่ 8

ภาพที่ 8 แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ของการจัดการข้อความรูปแบบต่างๆ
  • Changing Text color

ข้อความต่างๆ สามารถเปลี่ยนสีสันได้ เพื่อไม่ให้ข้อความของลายน้ำทับกับเนื้อหาภายในเอกสาร สามารถทำได้โดยการคลิกที่ไอคอน Text color จากนั้นจะปรากฏแถบสีต่างๆ ให้เลือกถึง 39 สี ดังภาพที่ 9

ภาพที่ 9 แสดงวิธีการปรับแต่งสีของตัวหนังสือ

จากนั้นสามารถดูตัวอย่างสีของข้อความได้ที่ Preview ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 แสดงตัวอย่างผลลัพธ์การกำหนดสีของข้อความ
  • Background color

นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มสีสันของพื้นหลังข้อความเพื่อแสดงความสำคัญของข้อความได้ โดยการนำเมาส์ไปคลิกที่ไอคอน Backgroud Color จากนั้นจะปรากฏแถบสีต่างๆ ให้เลือกเช่นกัน ดังภาพที่ 11

ภาพที่ 11 แสดงการใส่สีพื้นหลังข้อความ

เมื่อกำหนดเสร็จสิ้น ระบบจะปรากฏสีพื้นหลัง ดังภาพที่ 12

ภาพที่ 10 แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ของการกำหนดสีพื้นหลังของข้อความ
  • Adding Text list

การจัดเรียงลำดับสามารถทำได้ 2 แบบ คือ แบบสัญลักษณ์ (Bullet list) และแบบตามลำดับ(Numbered list)

  • การจัดเรียงแบบสัญลักษณ์ (Bullet list) ให้นำเมาส์ไปคลิกที่ไอคอน Bullet lists ซึ่งจะปรากฏสัญลักษณ์ 4 รูปแบบ ได้แก่ Default (ค่าเริ่มต้น), Circle (วงกลม), Disc (แผ่นกลม), และ Square (สี่เหลี่ยม) ดังภาพที่ 13
ภาพที่ 13 แสดงวิธีการจัดเรียงลำดับด้วยสัญลักษณ์

จากนั้นระบบจะแสดงผลการจัดเรียงแบบสัญลักษณ์ ดังภาพที่ 14

ภาพที่ 14 แสดงผลลัพธ์ของการจัดเรียงแบบสัญลักษณ์
  • การจัดเรียงแบบตามลำดับ (Numbered list) ให้นำเมาส์ไปคลิกที่ไอคอน Numered list ซึ่งจะมีให้เลือกรูปแบบการจัดเรียง 6 รูปแบบ ได้แก่ Default (ตัวเลขเริ่มต้น), Lower Alpha (ตัวอักษรขนาดเล็ก), Lower Greek (ตัวอักษรกรีกขนาดเล็ก), Lower Roman (ตัวเลขโรมันขนาดเล็ก), Upper Alpha (ตัวอักษรขนาดใหญ่), Upper Roman (ตัวเลขโรมันขนาดใหญ่) ดังภาพที่ 15
ภาพที่ 15 แสดงวิธีการจัดเรียงลำดับด้วยตัวเลข

เมื่อคลิก Preview ระบบจะแสดงการจัดเรียงแบบตัวเลข ดังภาพที่ 16

ภาพที่ 16 แสดงผลลัพธืการจัดเรียงแบบตัวเลข
  • Insert Images

การแนบรูปสามารถทำได้โดยการนำลิงค์ของรูปนั้นๆ มาวางไว้ เพื่อแสดงบน Text Editor โดยสามารถแทรกได้ 2 วิธีคือ

  • วิธีที่ 1 คลิกที่ Insert จากนั้นเลือก Insert Image ใส่ลิงค์ของรูปภาพไปที่ช่อง Source แล้วคลิก OK (ตกลง) ระบบจะแสดงรูปขึ้นบน Text Editor ทันที
  • วิธีที่ 2 คลิกที่ไอคอนรูปภูเขาตรงแถบ Toolbar จากนั้นวางลิงค์รูปภาพลงไปที่ Source เช่นเดียวกันกับวิธีที่ 1
  • วิธีที่ 3 คลิกขวาที่ช่อง Text editor จากนั้นเลือก Insert Image และใส่ลิงค์รูปภาพ

การแทรกรูปภาพมีองค์ประกอบดังนี้

  • Source – ช่องใส่ลิงค์รูปภาพ
  • Image Description – เพิ่มคำอธิบาย
  • Dimensions – กำหนดขนาดของรูปภาพ
  • Contrain Proportions – จำกัดขนาดของรูปภาพ

แอดมินสามารถปรับขนาดของรูปโดยการคลุมดำที่รูปภาพ จึงจะสามารถปรับภาพได้หากรูปภาพมีขนาดใหญ่ เมื่อเสร็จสิ้นล้วให้คลิก OK เพื่อแสดงรูปภาพ ดังภาพที่ 17

ภาพที่ 17 แสดงวิธีการแทรกรูปภาพในลายน้ำ

เมื่อแทรกรูปภาพเสร็จสิ้น ให้คลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่างรูป ดังภาพที่ 18

ภาพที่ 18 แสเงผลลธ์ของรูปภาพที่แทรกไว้
  • Insert link

การแนบลิงค์เว็บไซต์สามารถทำได้โดยการ copy ลิงค์ของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ขององค์กร เป็นต้น จากนั้นนำมาวางลงบน Text Editor อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนชื่อลิงค์หรือเพิ่มข้อความได้ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • นำเมาส์คลิกที่ไอคอน Insert/Edit link  หรือคลิกที่หัวข้อ Insert บนแถบ Toolbar แล้วเลือก Insert link ได้เช่นกัน จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้ใส่ข้อมูลต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
    • Url – วางลิงค์ที่คัดลอกลงในช่องว่าง
    • Text to display – ข้อความที่ต้องการแสดงบนลายน้ำ
    • Title – ชื่อลิงค์
    • Target – จุดประสงค์ ตัวข้อนี้สามารถเลือกไม่มี (None) หรือ สร้างหน้าต่างใหม่ (New Window)

เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิกตกลง (OK) ระบบจะแสดงลิงค์ที่เพิ่มมาทันที ตามภาพที่ 19

ภาพที่ 19 แสดงวิธีการแทรกลิงค์ในลายน้ำ

จากนั่นคลิกที่ Preview จะแสดงลิงค์ที่ใส่ไว้ตรงบรรทัดกลาง ดังภาพที่ 20

ภาพที่ 20 แสเงผลลัพธ์การแทรกลิงค์ต่างๆ
  • Text and Image alignment

การปรับตำแหน่งตัวหนังสือเป็นพื้นฐานของการจัดระเบียบข้อความต่างๆ สามารถทำได้โดยคลิกที่ไอคอน หรือไปที่หัวข้อ Format แล้วไปที่ Formats จากนั้นเลือก Alignment เพื่อกำหนดบรรทัดต่างๆได้ ซึ่งประกอบไปด้วย Left (ซ้าย), Center (กลาง), Rigt (ขวา), และ Justify (ตรงกัน)

หรือคลิกตรงไอคอนที่ Toolbar เพื่อปรับบรรทัดได้เช่นกัน ดังภาพที่ 21

ภาพที่ 21 วิธีการจัดเรียงตำแน่งตัวหนังสือและรูปภาพ

เมื่อจัดตำแน่งสำเร็จให้คลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 22

ภาพที่ 22 แสดงตัวอย่างผลลพธ์ของการปรับตำหน่งรูปภาพและข้อความ
  • Changing Indent

การจัดย่อหน้าสามารถทำได้โดยการคลิกที่ไอคอน Decrease indent (ลดย่อหน้า) และ Increase indent (ขยายย่อหน้า) เพื่อเพิ่ม ลด การเว้นระยะและจัดตำแหน่งของตัวหนังสือต่างๆ ดังภาพที่ 23

ภาพที่ 23 แสดงวิธีการเพิ่ม-ลดย่อหน้า

จากนั้นคลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 24

ภาพที่ 24 แสดงผลลัพธ์ของการย่อหน้าบรรทัด
  • Adding Variables

การใส่ตัวแปรสำหรับระบุชื่อ อีเมล ที่อยู่ไอพี และชื่อเอกสาร เพื่อแสดงข้อมูลของผู้ที่ใช้งานเอกสารนั้นๆ ได้

ซึ่งสามารถทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Help ซึ่งจะแสดงตัวแปรทั้งหมดที่สามารถใส่ไว้บนลายน้ำได้ จากนั้นทำการคัดลอกตัวแปรที่อยู่ข้างหน้ามาวางไว้ที่ Text Editor โดยการใช้แป้นพิมพ์ลัด Ctrl+V เพื่อวางลงบน Text Editor ดังภาพที่ 25

ภาพที่ 25 แสดงวิธีการเพิ่มตัวแปรลงใน Text Editor

แต่ละตัวแปรมีการแสดงผลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีคำอธิบายดังต่อไปนี้

${USER_FIRST_NAME} ชื่อจริงของผู้ใช้งาน
${USER_SURNAME} นามสกุลของผู้ใช้
${USER_EMAIL_ADDRESS} ที่อยู่อีเมลของผู้ใช้
${CLIENT_IP_ADDRESS} แสดงไอพีแอดเดรสลูกข่าย
${SERVER_IP_ADDRESS} แสดงไอพีแอดเดรสของเซิฟเวอร์
${SERVER_HOSTNAME} แสดงชื่อโฮสต์เซิฟเวอร์
${DOCUMENT_OPEN_DATE} แสดงวันที่ของเอกสารที่เปิด
${DOCUMENT_OPEN_TIME} แสดงเวลาที่เปิดเอกสาร
${DOCUMENT_OPEN_NAME} แสดงชื่อเอกสาร
${DOCUMENT_OPEN_NODEREF} แสดงเลขไอดีเอกสาร

เมื่อคลิก Preview จะแสดงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้เปิดดูเอกสารตามที่ผู้ดูแลกำหนดคำสั่งเอาไว้ ดังภาพที่ 26

ภาพที่ 26 แสดงตัวอย่างค่าของตัวแปรที่เพิ่มบนลายน้ำ
  • Adding Special Character and Others

การสร้างลายน้ำรองรับการเพิ่มอักขระพิเศษอีกมากมาย โดยอันดับแรกให้เข้าไปที่แถบ Insert จากนั้นคลิกที่ Special Charater เพื่อเลือกอักขระต่างๆ ดังภาพที่ 27

ภาพที่ 27 แสดงวิธีการแทรกอักขระพิเศษ

หลังจากกำหนดอักขระพิเศษสำเร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อดูผลลัพธ์ ตามหมายเลขที่ 1 ดังภาพที่ 28

ภาพที่ 28 แสดงอักขระพิเศษในตัวอย่างผลลพธ์ต่อมาการแทรกเส้นคอลัมน์แนวนอน ตรึงหัวข้อ แบ่งหน้ากระดาษ และอื่นๆ สามารถทำได้โดยไปที่แถบ Insert จากนั้นเลือกการตั้งค่าที่ประกอบไปด้วย

  • Horizental line (เส้นแนวนอน)
  • Anchor (ตรึงหัวข้อ)
  • Page break (แบ่งหน้ากระดาษ)
  • Non-breaking space (แก้ไขการเว้นวรรค)

เมื่อเพิ่มเสร็จสิ้น ระบบจะแสดงการแทรกองค์ประกอบต่างๆ ดังภาพที่ 29

ภาพที่ 29 แสดงวิธีการแทรกส่วนประกอบอื่นๆของลายน้ำ

จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อเปิดดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 30

ภาพที่ 30 แสดงผลลัพธ์การแทรกของส่วนต่างๆ
  • Create Table

การสร้างตารางเพื่อจัดระเบียบการแสดงข้อความต่างๆ ให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน หรือจัดเรียงลำดับข้อมูล มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้

1. อันดับแรกให้นำเมาส์ไปคลิกขวาที่ช่อง Text Editor เพื่อสร้างตารางอย่างรวดเร็ว หรือคลิกแถบหัวข้อ Table จากนั้นเลือก Insert Table แล้วกำหนดขนาดของตาราง เมื่อสร้างแล้วให้ปรับขนาดและเพิ่มข้อความ ดังภาพที่ 31

ภาพที่ 31 แสดงวิธีการแทรกตาราง

ตารางมีองค์ประกอบหลักในการสร้างและปรับแต่ง ดังต่อไปนี้

  • Insert Table (แทรกตาราง)สร้างและกำหนดขนาดของตารางได้
  • Table Properties (จัดการคุณสมบัติของตาราง) – จัดการรูปแบบของตาราง โดยประกอบไปด้วยการจัดการแบบทั่วไป (General) และแบบขั้นสูง (Advanced)
  • Delete table (ลบตาราง) – ลบตารางที่เลือก
  • Cell (ช่องภายในตาราง) – เป็นเครื่องมือจัดการช่องในการแบ่งช่อง รวม จัดการคุณสมับติภายในตาราง ประกอบด้วย Cell Properties (คุณสมับติของช่อง) , Merge Cells (ผสานช่อง), Split Cell (แยกช่อง)
  • Row (แถวของตาราง) – เป็นการเพิ่ม ลบตารางแบบแนวนอน ประกอบด้วย Insert row before (เพิ่มตารางแถวบน), Insert row after (เพิ่มตารางแถวล่าง), Delete row (ลบแถวตาราง), Row Properties (จัดการแถวของตาราง), Cut row (ตัดแถว), Copy row (คัดลอกแถว), Paste row before (วางข้างแถวบน) และ Paste row after (วางข้างแถวล่าง)
  • Column (คอลัมน์ของตาราง) – เพิ่ม ลบช่องภายในตารางระกอบด้วย Insert column before (เพิ่มส่วนหน้า), Insert column after (เพิ่มส่วนท้าย), และ Delete column (ลบ)

หากคลิกที่ปุ่ม Preview ในตอนแรกจะพบว่าตารางยังไม่มีเส้นแบ่งขอบเขต ดังภาพที่ 32 ซึ่งสามารถสร้างเส้นขอบเขตได้ภายหลัง ในวิธีที่ 2

ภาพที่ 32 แสดงผลลัพธ์ของตารางี่สร้างในขั้นตอนที่ 1

2. เพื่อปรับแต่งตาราง เช่น เพิ่มสี กำหนดความกว้าง-ยาว แสดงกรอบตาราง  และจัดรูปแบบต่างๆ สามารถทำได้โดยการนำเมาส์ไปคลิก Tools จากนั้นไปที่  Table Properties ซึ่งจะปรากฏหน้าต่างเพื่อปรับแต่งตาราง นอกจากนี้ข้อความในตารางยังสามารถปรับแต่งได้อย่างหลากหลาย ดังภาพที่ 33

ภาพที่ 33 แสดงส่วนประกอบและวิธีการปรับแต่งตาราง

Table Properties มีองค์ประกอบ ดังนี้

  • General – คือการปรับแต่งแบบทั่วไปที่ประกอบไปด้วย
    • Width – ปรับขนาดความกว้าง
    • Height – ปรับขนาดความยาว
    • Cell spacing – กำหนดการเว้นระยะระหว่างตารางกับกรอบตาราง
    • Cell padding – กำหนดความระยะห่างของเส้นแบ่งระหว่างตาราง
    • Border – กำหนดการเพิ่มขอบตาราง
    • Caption – แสดงคำบรรยาย
    • Alignment – กำหนดตำแหน่งบนกระดาษจากไม่กำหนด (None), ซ้าย (Left), กลาง (Center), ขวา (Right)
  • Advanced – คือการปรับแต่งขั้นสูงที่สามารถใช้คำสั่ง HTML กำหนดเองได้ ซึ่งประกอบไปด้วย
    • Style – ปรับแต่งลักษณะของตารางด้วยคำสั่ง HTML 
    • Border color – ปรับกรอบสีของตารางด้วยการป้อนชื่อสี
    • Background color – ปรับสีพื้นหลังของตารางด้วยการป้อนชื่อสี (ข้ามการตั้งค่านี้หากต้องการให้ตารางโปร่งใส) 
  • OK – ยอมรับการปรับแต่ง
  • Cancel – ยกเลิกการปรับแต่ง

เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วให้คลิก OK เพื่อนำการปรับแต่งไปใช้ จากนั้นระบบจะแสดงการปรับแต่งบนหน้า Text Editor ดังภาพที่ 21 ข้างต้น จากนั้นให้คลิกที่ Preview เพื่อดูผลลัพธ์ของตางราง ดังภาพที่ 34

ภาพที่ 34 แสดงผลลัพธ์ของตารางและเส้นแบ่งตาราง
  • Merge Table’s Cell

Admin สามารถรวบรวมตารางทั้งหมดเข้าด้วยกัน (Merge) โดยการเลือกตารางที่ต้องการ จากนั้นนำเมาส์ไปคลิกที่ Table แล้วไปคลิกที่ Merge Cells ระบบจะรวมตารางทั้งหมดและข้อความเป็นหน้าเดียวกัน ดังภาพที่ 35

ภาพที่ 35 แสดงการปรับแต่งแบบรวบรวมตารางเข้าดวยกัน

เมื่อคลิกที่ปุ่ม Preview จะปรากฏตารางที่รวมกันแล้ว ดังภาพที่ 36

ภาพที่ 36 แสดงการรวมตารางทั้งหมดให้เป็นตารางดียว
  • Split Table’s Cell

การแบ่งช่องตาราง (Split Cell) สามารถทำได้โดยการนำเมาส์ไปที่ Table จากไปนั้นไปที่ Cell แล้วคลิก Split cell เพื่อแบ่งครึ่งตาราง ดังภาพที่ 37

ภาพที่ 37 แสดงวิธีการแบ่งแยกตาราง

จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 38

ภาพที่ 38 แสดงผลลัพธืการแบ่งแยกตาราง
  • Insert Table

ผู้ดูแลระบบสามารถแทรกตารางได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มหรือสร้างตารางใหม่ โดยสามารถเพิ่มได้ 2 แบบ ได้แก่

  1. เพิ่มช่องในตารางเดียวกัน (Column) โดยการคลิกที่ Table จากนั้นเลือก Column ให้คลิก Insert column before (แทรกตารางส่วนหน้า) หรือ Insert column after (แทรกตารางส่วนท้าย)
  2. เพิ่มแถวของตาราง (Row) โดยการคลิกที่ Table จากนั้นเลือก Row ให้คลิก Insert row before (แทรกแถวบน) หรือ Insert row after (แทรกแถวล่าง) ซึ่งจะเป็นการแทรกแถวแบบแนวนอน และจะทำการแทรกตารางที่มีอยู่ภายในช่องทั้งหมด

เมื่อเพิ่มสำเร็จ จะปรากฏตารางต่างๆใน Text Editor ดังภาพที่ 39

ภาพที่ 39 แสดงวิธีการแทรกตารางทั้งในและนอกตาราง

จากนั้นคลิกปุ่ม Preview เพื่อดูผลลัพธ์ตัวอย่าง ดังภาพที่ 40

ภาพที่ 40 แสดงผลลัพธ์การเพิ่มแถวตารางแล้วช่องตาราง
  • Edit with HTML source code

หากต้องการปรับแต่งอย่างอิสระมากขึ้น สามารถทำได้โดยการใช้ Code HTML เพื่อเปลี่ยนฟอนต์ ปรับขนาดตัวหนังสือ เปลี่ยนสี และปรับบรรทัด ซึ่งจัดการได้อย่างหลากหลาย

โดยอันดับแรกให้เข้าไปที่หัวข้อ View จากนั้นคลิกที่ Source Code เพื่อเปิดใช้งานการแก้ไขด้วยคำสั่ง HTML จะปรากฏหน้าต่างเพื่อกรอกคำสั่ง ดังภาพที่ 41

ภาพที่ 41 แสดงวิธีการปรับแต่งลายน้ำด้วย Code HTML

เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิกที่ Preview เพื่อดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 42

ภาพที่ 42 แสดงผลลัพธ์ของการแก้ไขข้อความด้วยคำสั่ง HTML
  • Adjust Watermark Position 

การปรับตำแหน่งของลายน้ำบนเอกสารสามารถปรับแต่งไปพร้อมกับการดูตัวอย่างผลลัพธ์ของลายน้ำได้ โดยให้นำเมาส์คลิกที่ปุ่ม Preview ในหน้าต่างการดูตัวอย่างจะประกอบไปด้วยการตั้งค่าเพิ่มเติม ได้แก่  Rotation (ปรับองศา), Opacity (ความโปร่งใส), Horizontal (กำหนดแนวนอน), Vertical (กำหนดแนวตั้ง), OK (ตกลง), และ Cancel (ยกเลิก) ซึ่งสามารถปรับแต่งและดูตัวอย่างได้ทันที

โดยแบ่งมีวิธีการปรับแต่งได้ ดังต่อไปนี้

  • Rotate Watermark

หากแอดมินต้องการปรับองศาของลายน้ำก็สามารถทำได้โดยการนำมาไปคลิกเลื่อนที่ปุ่มของ Rotation จากนั้นปรับองศา หรือคลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อปรับองศาดูลายน้ำและดูตัวอย่างทันที ซึ่งค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 0 องศาและสามารถปรับได้ถึง 360 องศา ดังภาพที่ 43

ภาพที่ 43 แสดงวิธีการกำหนดองศาของลายน้ำ
  • Transparent

นอกจากนี้ยังสามารถปรับความชัดเจนของลายน้ำเพื่อที่จะไม่ให้ตัวหนังสือในลายน้ำบดบังข้อมูลของเอกสารได้ โดยการคลิกที่ปุ่มในแถบ Opacity จากนั้นปรับลดความชัดเจน หรือคลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อปรับความโปร่ใสของลายน้ำและแสดงตัวอย่างได้ทันที ซึ่งค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 100% ภาพที่ 44

ภาพที่ 44 แสดงวิธีการกำหนดความโปร่งใสของลายน้ำ
  • Changing Watermark Position

กำหนดบนหน้าปรับแต่งได้โดยตรง ให้คลิกที่แถบเลือก Horizenal หรือ Vertical จากนั้นจะมีองค์ประกอบให้เลือก ได้แก่ Left (ซ้าย), Center (กลาง), Right (ขวา), Repeat (แสดงซ้ำ), Fit (พอดีหน้ากระดาษ) ดังภาพที่ 45

ภาพที่ 45 แสดงวิธีการปรับขนาดของลายน้ำในหน้ากระดาษ

หรือสามารถกำหนดได้ที่หน้าต่าง Preview พร้อมดูตัวอย่าง ดังภาพที่ 46

ภาพที่ 46 แสดงวิธีการปรับแต่งหน้ากระดาษบนหน้าตัวอย่าง
  • Saving Watermark Results

เมื่อกำหนดรูปแบบลายน้ำเสร็จเรียบร้อย ให้นำเมาส์ไปคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อสร้างลายน้ำทันที ซึ่งระบบจะเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ (Enable) หากต้องการแก้ไข ก็สามารถคลิกที่ปุ่ม Edit เพื่อแก้ไขลายน้ำได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดการใช้งาน (Disable) ดังภาพที่ 47

ภาพที่ 47 แสดงวิธีการบันทึกผลลัพธ์ของลายน้ำ
  • Printing Watermark

Dynamic Watermark ยังสามารถถ่ายเอกสารหรือบันทึกลายน้ำเป็นไฟล์ PDF เพื่อบันทึกแบบร่างหรือถ่ายเอกสารตัวอย่างลายน้ำได้ โดยทำการคลิกที่หัวข้อ File จากนั้นนำเมาส์ไปคลิกที่ Print ดังภาพที่ 48

ภาพที่ 48 แสดงวิธีการถ่ายเอกสารของลายน้ำ

Viewing Dynamic Watermark

การเปิดดูลายน้ำบนเอกสาร ปกติแล้วผู้ดูแลระบบ (Admin) มีสิทธิ์เปิดเอกสารโดยปราศจากลายน้ำ แต่ผู้ใช้ (User) จะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อแอดมินได้กำหนดสิทธ์เอาไว้ภายในไซต์ (Site), โฟลเดอร์ (Folder), กลุ่ม (Group), และไฟล์เอกสาร (Document Files) เมื่อผู้ใช้เข้าสู่ระบบก็จะเห็นลายน้ำโดยอัตโนมัติทันที ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • Viewing in Folder

  1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) จะต้องทำการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงให้แก่ผู้ใช้ก่อนจึงจะสามารถมองเห็นลายน้ำในเอกสารได้ โดยสามารถทำได้ด้วยการเข้าไปที่ไซต์ที่ต้องการ จากนั้นทำการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของผู้ใช้ใน Document Library แล้วเลือกโฟลเดอร์ (Folder) หรือเอกสาร (Document) ให้ไปที่การจัดการสิทธิ์ (Manage Permission) จากนั้นให้ทำการปิด Inherit Permission แล้วเพิ่ม User ให้มีสิทธ์การมองเห็นเป็น Dynamic Watermark View หรืออาจะเป็น Site Watermark View และเลือกลายน้ำในช่องถัดมา (สามารถศึกษาวิธีการกำหนดสิทธิ์ในโฟลเดอร์ได้ที่ Alfresco Wiki) ดังภาพที่ 49
ภาพที่ 49 แสดงวิธีการกำหนดสิทธ์ลายน้ำ

2. เมื่อผู้ใช้เข้าถึงโฟลเดอร์ที่แอดมินกำหนดไว้ จะพบว่าลายน้ำได้ปรากฏขึ้นบนเอกสาร อีกทั้งยังไม่มีปุ่มดาวน์โหลดปรากฏขึ้นด้านขวาของเอกสาร ดังภาพที่ 50

ภาพที่ 50 แสดงการปรากฎลายน้ำภายในโฟลเดอร์
  • Viewing in Site

  1. การดูลายน้ำในไซต์ อันดับแรก Admin ต้องกำหนดลายน้ำเป็นค่าเริ่มต้น (Set Default) เพื่อแสดงในไซต์ต่างๆ ให้ไปที่ Admin Tools แล้วคลิกที่ HTML Dynamic Watermark จากนั้นเลือกลายน้ำที่ต้องการ แล้วจึงคลิกที่ Set Default ในหมวด Default ซึ่งหากตั้งเป็นค่าเริ่มต้นแล้วจะไม่สามารถลบลายน้ำนั้นๆ ออกได้ ดังภาพที่ 51
ภาพที่ 51 แสดงวิธีการกำหนดค่าลายน้ำเริ่มต้น

2. เพื่อเปิดใช้งานลายน้ำในไซต์ ให้ไปที่ Site Members เพื่อกำหนดสิทธิ์การมองเห็นลายน้ำเป็น Watermark View ของแต่ละ User จากนั้นจะมองเห็นลายน้ำบนทุกเอกสารที่อยู่ในไซต์นั้นๆ ดังภาพที่ 50 ข้างต้น (สามารถศึกษาวิธีการกำหนด Role ของผู้ใชในไซต์ได้ที่ Alfresco Wiki)

Download Dynamic Watermark

อันดับแรกผู้ดูแลระบบจำเป็นสร้างกลุ่ม (Group) การเข้าถึงปุ่ม Download และเพิ่มสิทธิ์ให้กับ User ก่อน จึงจะสามารถเปิดใช้งานได้ โดยเพิ่ม Group ที่ Admin Tools จากนั้นเพิ่มกลุ่มดังต่อไปนี้

SKY_WATERMARK_BUTT_DOWNWATERM

เมื่อเพิ่มสำเร็จ ให้กำหนดสิทธิ์ (Manage Perrmission) ที่ไซต์ โฟลเดอร์ หรือไฟล์ก่อน จึงจะสามารถใช้งานปุ่มดาวน์โหลดได้ โดยการเลือกผู้ใช้งานจากนั้นกำหนดสิทธิ์เป็น Watermark Download และเลือกลายน้ำ ดังภาพ (สามารถศึกษาวิธีการกำหนดสิทธิ์ในโฟลเดอร์ได้ที่ Alfresco Wiki) ดังภาพที่ 52

ภาพที่ 52 แสดงวิธีการเพิ่ม Role ของผู้ใช้

การดาวน์โหลดสามารถทำได้ 2 วิธีคือ คลิกที่ปุ่ม Download เอกสารโดยตรง หรือดาวน์โหลดด้วยลายน้ำ (Download With Watermark) ซึ่งจะแสดงหน้าต่างเพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Role ของผู้ใช้งานในการเข้าถึงปุ่ม Download ทั้ง 2 แบบ

ซึ่งปุ่มดาวน์โหลดจะไม่ปรากฏหากผู้ใช้มีตำแหน่งเป็น Lowconsumer หรือ Watermark View  ยกเว้นตำแหน่ง Consumer หรือสูงกว่าที่สามารถดาวน์โหลดได้ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • Direct Download 

ผู้ใช้สามารถคลิกที่ปุ่ม Download ทางด้านขวาของเอกสารได้โดยตรง เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะพบว่ามีลายน้ำติดมากับเอกสาร ดังภาพที่ 53

ภาพที่ 53 แสดงวิธีการดาวน์โหลดเอกสารพร้อมลายน้ำโดยตรง
  • Download with Watermark

ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดลายน้ำอื่นๆ และบันทึกไว้ในคลังเอกสารของ Alfresco ได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม Download With Watermark ของเอกสารที่ต้องการ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้เลือกลายน้ำและกำหนดตำแหน่งที่เก็บเอกสารได้ ดังนี้

  • Watermark available – เลือกลายน้ำต่างๆที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้บนเอกสารได้
  • Save to current folder – สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกไว้ที่โฟลเดอร์ปัจจุบันหรือบันทึกไว้ที่ตำแหน่งอื่น โดยระบบจะปรากฏตำแหน่งการบันทึกเอกสารหากไม่เลือกบันทึกโฟลเดอร์ปัจจุบัน

เมื่อเสร็จสิ้น ให้ไปที่โฟลเดอร์ที่บันทึกเอกสาร จะสังเกตุได้ว่าเอกสารนั้นจะมาพร้อมกับลายน้ำทันที ดังภาพที่ 54

ภาพที่ 54 แสดงวิธีการดาวน์โหลดเอกสารแบบมีลายน้ำ
  • Download with No Watermark 

การดาวน์เอกสารโดยปราศจากลายน้ำ สามารถทำได้โดยแอดมินจะเป็นผู้กำหนด Aspect ในโฟลเดอร์ หรือเอกสาร โดยเข้าไปที่การจัดการมุมมอง (Manage Aspect) จากนั้นคลิกเครื่องหมายบวกที่ No Watermark ดังภาพที่ 55 (สามารถศึกษาวิธีการจัดการ Aspect ได้ที่ Alfresco Wiki)

ภาพที่ 55 แสดงวิธีเพิ่ม Aspect ของเอกสาร

เอกสารนั้นๆ จะไม่แสดงลายน้ำที่อยู่ในระบบเมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลด ดังภาพที่ 56

ภาพที่ 56 แสดตัวอย่างและวิธีดาวน์โหลดโดยปราศจากลายน้ำ

Disable Watermark

ผู้ดูแลระบบสามารถเปิด-ปิดการใช้งานลายน้ำได้  อีกทั้งยังสามารถปิดการใช้งานได้ถึงแม้ว่าลายน้ำนั้นๆ ถูกนำไปใช้อยู่ เริ่มต้นโดยการคลิกที่ปุ่ม Edit จากนั้นไป Status เลือก Disabed แล้วคลิก Save ดังภาพที่ 57

ภาพที่ 57 แสดงวิธีการตั้งค่าเพื่อปิดการใช้งานลายน้ำ

เมื่อปิดแล้ว ให้เปลี่ยนสิทธิ์การมองเห็นลายน้ำที่ Manage Permission ที่กำหนดสิทธิ์เอาไว้ในโฟลเดอร์ หรือไฟล์เอกสารของผู้ใช้ ซึ่งลายน้ำที่ปิดการใช้งานแล้วจะไม่ปรากฏในตัวเลือกของสิทธิ์

User Access Control

การควบคุมสิทธิ์เพื่อใช้ระบุการแสดงผลลายน้ำต่างๆ เพื่อคัดครองผู้มีสิทธิ์เข้าถึงเอกสารจากตำแหน่งงานได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Watermark View และ Watermark Download ซึ่งสามารถกำหนดสิทธ์ต่างๆ ภายในไซต์ (Site), ผู้ใช้ (User), กลุ่มผู้ใช้ (Group), โฟลเดอร์ (Folder), และไฟล์เอกสาร (Document Files) โดยมีคำอธิบาย ดังนี้

  • ไซต์ (Site) สามารถกำหนดสิทธิ์การมองเห็นทุกเอกสารภายในไซต์ได้
  • ผู้ใช้ (User) – สามารถกำหนดขอบเขตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงลายน้ำได้
  • กลุ่ม (Group) – สามารถกำหนดขอบเขตการเข้าถึงแบบกลุ่มได้โดยการเพิ่มผู้ใช้ไปที่สิทธิ์แบบกลุ่มใน Admin Tools
  • โฟลเดอร์ (Folder) – สามารถกำหนดการมองเห็นลายน้ำลวดลายต่างๆ ในโฟลเดอร์ได้ ซึ่งลายน้ำจะปรากฏบนเอกสารที่อยู่ในโฟลเดอร์นั้นๆ
  • ไฟล์เอกสาร (File) – สามารถกำหนดสิทธิ์การมองเห็นลายน้ำแบบทีละเอกสารได้

นอกจากนี้ผู้ใช้ที่มี Role เป็น Lowconsumer และ Watermark View จะไม่มีสิทธิ์เข้าถึงปุ่มดาวน์โหลด ยกเว้นระดับ Consumer, Watermark Download และระดับที่สูงกว่าจึงจะสามารถเข้าถึงปุ่มดาวน์โหลดได้