- 1 What is Joget Budget Management?
- 2 Budget Approval Application
What is Joget Budget Management?
งบประมาณ (Budget) คือ การคาดการณ์งบประมาณทางการเงินหรือทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานตามเป้าหมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น การจัดซื้อ การผลิต การควบคุม และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการงบประมาณควบคู่กัน สำหรับการจัดทำรายงานผลข้อมูลงบประมาณในรูปแบบต่างๆ เพื่อการวางแผนและพิจารณาการดำเนินงานในอนาคต
โดย Budget Workflow เป็นกระบวนการดำเนินงานด้านการจัดการงบประมาณด้วยแฟลตฟอร์ม Joget ที่รวมการทำงานต่างๆ อย่างครบวงจร เช่น การจัดทำแบบฟอร์ม การประสานงาน ยื่นคำร้องอนุมัติงบประมาณและอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่หลากหลาย ช่วยให้การดำเนินงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้น สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม Alfresco ได้เป็นอย่างดี (สามารถศึกษาการทำงานเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ Getting Started with Joget )
Budget Approval Application
วิธีการใช้งาน Application เพื่อการดำเนินการ Workflow สำหรับจัดทำแบบฟอร์มยื่นขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในหน่วยงานขององค์กร ที่มีกระบวนการทำงาน Workflow ที่ล้ำลึก เป็นลำดับขั้นตอน อนุมัติด้วยลายเซ็นดิจิทัล จัดทำ E-Form อัตโนมัติ คำนวณงบประมาณค่าใช้จ่าย พร้อมจัดเก็บข้อมูลเป็น Custom type ลงในแพลตฟอร์ม Alfresco เพื่อการค้นหาข้อมูลที่ง่ายดาย
อันดับแรกให้เข้าไปที่แอพพลิเคชั่น Alfresco Budget Approval จะปรากฏ Layout เริ่มต้นที่เชื่อมโยงการทำงานทั้งหมดภายในหน้าแรก ดังภาพที่ 1

การทำงานของแอพพลิเคชั่นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
หมายเลขที่ 1 แถบการดำเนินงานที่สามารถเข้าถึงการทำงานได้อย่างหลากหลาย ประกอบไปด้วย
- Dashboard (หน้าแดชบอร์ด) – หน้าแรกของการเข้าถึงการจัดการผ่าน Layout ต่างๆ เพื่อเป็นรายงานผลข้อมูลโดยรวมของดำเนินงาน Workflow
- My Inbox (กล่องข้อความของฉัน) – กล่องข้อความขาเข้าของ User สำหรับเข้าถึงการดำเนินงาน
- Main Manu (เมนูหลัก) – เป็นเมนูหลักเพื่อการจัดทำแบบฟอร์ม ประกอบด้วย
- Submit Budget Request (ส่งแบบฟอร์มคำร้องขอการอนุมัติงบประมาณ)– เริ่มต้นการยื่นคำร้องขอจัดซื้อสินค้า อุปกรณ์ และอื่นๆ ภายในแผนก
- My Budget Request (คำร้องขอของฉัน) – แบบฟอร์มคำขอค่าใช้จ่ายของแต่ละ User
- Listing (รายการคำร้องขอ)– แสดงรายการ ตรวจสอบสถานะการดำเนินงานแบบระเอียด ประกอบด้วย
- All Budget Request (รายการคำร้องขอทั้งหมด) – รวมแบบฟอร์มคำร้องขอทั้งหมด
- All Active Task (การดำเนินงานทั้งหมด) – รวมแบบฟอร์มที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมด
หมายเลขที่ 2 หน้าแดชบอร์ด (Dashboard) การใช้งานและรายงานผลข้อมูล เป็นค่าเริ่มต้นที่รวมการใช้งานต่างๆ ในรูปแบบ Layout เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการทำงานต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับแถบการดำเนินงาน ซึ่งจะแสดงรายงานผลข้อมูล รายการซึ่งจะแสดงการทำงานแบบย่อ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่ง จัดเรียง Layout ได้ ประกอบด้วย
- Submit Budget Request (ส่งแบบฟอร์มคำร้องขอการอนุมัติงบประมาณ) – เริ่มต้นการยื่นคำร้องขอจัดซื้ออุปกรณ์
- My Budget Request (คำร้องขอของฉัน) – แบบฟอร์มคำขอค่าใช้จ่ายของแต่ละ User
- Budget (งบประมาณของแผนก) – แสดงรายงานผลข้อมูลของ User
- Budget Chart (ชาร์ตข้อมูลงบประมาณ) – ชาร์ตสรุปผลข้อมูลทั้งหมดของแอพพลิเคชั่นนี้
- Top 10 Products (สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด) – แสดงข้อมูลของสินค้าที่มีการสั่งซื้อมากที่สุด
- Reset to default layout (เรียกคืนการตั้งค่าเริ่มต้น) – กลับคืนการจัดกรูปแบบ Layout ทั้งหมด
หมายเลขที่ 3 ไอคอนเพื่อเข้าถึงหน้าแรกและแสดงการแจ้งเตือนการดำเนินงานล่าสุด
Configuring Layout
ที่หน้า Dashboard จะพบกับ Layout เพื่อเข้าถึงการใช้งานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ได้แก่ My Budget Request (คำร้องขอของฉัน), Active Task (การดำเนินงานล่าสุด), Budget (งบประมาณของแผนก), Budget Chart (ชาร์ตข้อมูลงบประมาณ), และ Top 10 Products (สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด) ทั้งหมดสามารถปรับแต่ง Layout ตามความต้องการของผู้ใช้ได้ ดังภาพที่ 2

แต่ละ Layout จะมีไอคอนเพื่ออัพเดทข้อมูล 🔄 และขยายหน้าต่างของข้อมูลใน Layout ดังภาพที่ 3

หากต้องการคืนค่า Layout เริ่มต้นก็สามารถทำได้โดยการคลิกที่ Reset to default layout ดังภาพที่ 4

Submitting Budget Approval Form
เริ่มต้นการจัดทำแบบฟอร์มโดยการคลิกที่ Main Menu จากนั้นเลือก Submit Budget Request ซึ่งจะมี 3 Options ให้เลือก ได้แก่ แผนกที่จัดทำ วันที่จัดทำแบบฟอร์ม ประเภทของงบประมาณ ดังภาพที่ 5

ทั้ง 3 ตัวเลือกมีคำอธิบายดังต่อไปนี้
- Requester Department – เลือกหน่วยงานของผู้ยื่นแบบฟอร์ม สามารถเลือกได้เฉพาะแผนกที่ผู้ยื่นขอดำเนินงานอยู่เท่านั้น และไม่สามารถเลือกแผนกอื่นได้หากเลือกประเภทงบประมาณเป็น Wthin Budget ซึ่งผู้ดูแลระบบต้องสร้างข้อมูลงบประมาณของแผนกภายในเมนู Budget ก่อน ดังภาพที่ 6

- Budget Request Date – ระบุวันที่แบบฟอร์มงบประมาณ ระบบจะกำหนดให้เองโดยอัตโนมัติตามวันที่ปัจจุบัน ดังภาพที่ 7
- Request type – ระบุประเภทของงบประมาณ สามารถเลือกได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ Within Budget (อยู่ในงบประมาณ), Over Budget (เกินงบประมาณ), Extra Budget (นอกงบประมาณ) แต่ละประเภทก็จะมีการดำเนิน Workflow ที่แตกต่างกัน ดังภาพที่ 8

เมื่อเลือกเสร็จสิ้น ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่กระบวนการสร้างแบบฟอร์ม ดังภาพที่ 9

ทำการระบุคำอธิบายเกี่ยวกับการจัดซื้อ จากนั้นเลือกสินค้าและระบุจำนวนที่ต้องการจัดซื้อ ระบบจะคำนวณอัตราส่วนของภาษีและค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยอัตโนมัติ ดังภาพที่ 10

โดยมีคำอธิบายดังต่อไปนี้
- Budget Left – งบประมาณคงเหลือล่าสุด
- Budget Request Description – ระบุคำอธิบายในการจัดซื้อสินค้า
- Product – ระบุสินค้าที่ต้องการ
- Quantity – ระบุจำนวนของสินค้าที่ต้องการ
- Unit Price – ราคาสินค้าต่อ 1 ชิ้น (ไม่รวมภาษี)
- VAT (%) – แสดงร้อยละของภาษีที่ต้องจ่าย
- VAT Amount – ภาษีสุทธิ
- Net Price – ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแต่ละสินค้า
- Total Quantity – จำนวนสินค้าทั้งหมด
- Total Unit Price – ราคาของสิ้นค้าทั้งหมด (ไม่รวมภาษี)
- Total VAT – ยอดรวมของภาษีทั้งหมด
- Withholding Tax – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Amount – ยอดรวมทั้งหมดของการสั่งซื้อสินค้า (รวมภาษี)
ให้ทำการระบุคำอธิบายของแบบฟอร์ม (Budget Request Description) ตามหมายเลขที่ 1 และเลือกสินค้า (Product) ที่ต้องการแบบ Drop-down list ตามหมายเลขที่ 2 ซึ่งเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นระบุจำนวนที่สินค้า (Quantity) ที่ต้องการ ตามหมายเลขที่ 3 แล้วกด Enter ระบบจะคำนวนจำนวนสินค้าและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแบบฟอร์ม ดังภาพที่ 11

เมื่อระบุข้อมูลทั้งหมดแล้ว ให้คลิก Complete เพื่อเริ่มต้น Workflow ดังภาพที่ 12

Remove Product
การลบสินค้าออกจากคลังการจัดซื้อ ให้ทำการคลิกขวาที่สินค้าที่ต้องการ จะปรากฏคำสั่งต่างๆ ให้เลือก 6 คำสั่ง ได้แก่ Insert row above (เพิ่มช่องด้านบน), Insert row before (เพิ่มช่องด้านล่าง), Remove row (ลบสินค้า), Undo (เลิกทำ), Redo (ทำซ้ำ), ดังภาพที่ 13

ให้ทำการคลิกที่ Remove Row เพื่อลบรายการที่ไม่ต้องการ หรือกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด ดังภาพที่ 14

Approving Budget Request Form
หลังจากที่ Workflow เริ่มต้นกระบวนการ ระบบจะส่งต่อคำร้องขอไปถึงผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติ ซึ่ง Role ของแอพพลิเคชั่นต่างๆ จะแตกต่างกันออกไปตาม Process ของ Workflow แอพพลิเคชั่นนี้มีกระบวนการ Workflow แบ่งตามประเภทของงบประมาณทั้ง 3 ประเภท ได้แก่
- Within Budget (อยู่ในงบประมาณ) – การดำเนิน Workflow จะแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- หากงบประมาณของหน่วงานมีมากกว่า 5000 บาท Workflow จะเริ่มต้นที่ Requester > Supervisor > Auditor > Manager > Accounting
- หากงบประมาณของหน่วยงานต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5000 บาท Workflow จะเริ่มต้นที่ Requester > Senior > Auditor > General Manager > Accounting
- Extra Budget (นอกงบประมาณ) – งบประมาณประเภทนี้จะไม่รวมกับงบประมาณในส่วนของแผนก เริ่มต้น Workflow ที่ Requester > Supervisor > Auditor > Manager > Accounting
- Over Budget (เกินงบประมาณ) – งบประมาณประเภทนี้จะไม่รวมกับงบประมาณที่อยู่ในส่วนของแผนก เริ่มต้น Workflow ที่ Requester > Supervisor > Auditor > Manager > Accounting
ขั้นแรกให้ไปที่ My inbox เพื่อเข้าสู่การอนุมัติแบบฟอร์ม หรือเข้าถึงการทำงานที่ไอคอนแจ้งเตือน ดังภาพที่ 15 (สามารถศึกษาวิธีการเรียกดูการแจ้งเตือนข้อความ Notification ของ Workflow ได้ที่หัวข้อ Getting Started with Joget)

ภายใน My inbox จะประกอบด้วย
- Request No. – แสดงหมายเลขแบบฟอร์มคำขอ
- Request Department – แผนกที่ขอคำร้อง
- Request Date – วันที่สร้างแบบฟอร์ม
- Request Type – ประเภทของคำร้องขอ เช่น Over Budget, Within Budget, Extra Budget
- Net Amount – งบประมาณการจัดซื้อทั้งหมดของแต่ละแบบฟอร์ม
- Status – แถบแสดงสถานะการดำเนินงาน
- Requested by – ผู้ยื่นคำร้องขอ
- Over Budget Approval – เข้าถึงการอนุมัติแบบฟอร์ม โดยอ้างอิงจากผู้มีอำนาจอนุมัติและประเภทของแบบฟอร์ม เช่น Over Budget, Within Budget, Extra Budget
- Download PDF – ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเป็นไฟล์ PDF
จากนั้นเข้าไปที่แบบฟอร์มที่ต้องการ ให้ทำการคลิกที่ช่อง Approve และคลิก Complete ระบบจะส่งต่อการดำเนินการอนุมัติไปยัง User ต่อไปทันที ดังภาพที่ 16

เมื่อการอนุมัติครบ 100% ทุกกระบวนการ ระบบจะจัดเก็บ Workflow ไว้ที่ All Budget Request ทันที ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการดาวน์โหลดและเรียกดูข้อมูลแบบฟอร์มได้ที่หัวข้อ Download Budget Request Form และ Viewing Form
Reject Budget Form
หากแบบฟอร์มมีข้อผิดพลาด ผู้มีอำนาจสามารถปฏิเสธแบบฟอร์มได้ทุกกระบวนการ โดยการคลิกที่ช่อง Reject จะปรากฏช่องระบุหมายเหตุ (Remark) ให้ทำการใส่ข้อมูล จากนั้นกรอกหมายเหตุที่ช่อง Remark แล้วคลิกปุ่ม Complete ดังภาพที่ 17

Resubmit Form
ผู้ยื่นคำร้องขอจะได้รับการแจ้งเตือนการดำเนินงานเพื่อปิด (Closed) การดำเนินงานแบบฟอร์ม Workflow นี้ตามหมายเลขที่ 1 หรือส่งแบบฟอร์มอีกครั้ง (Resubmit) ตามหมายเลขที่ 2 ซึ่ง Requester สามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ จากนั้นคลิกปุ่ม Complete ดังภาพที่ 18

หลังจาก Resubmit ระบบจะส่งแบบฟอร์มไปยังผู้มีอำนาจคนใหม่เพื่อทำการ Approve แบบฟอร์มต่อไป พร้อมกับแสดงประวัติการอนุมัติ (Approval History) ล่าสุด ดังภาพที่ 19

Viewing Form
การเรียกดูข้อมูลของแบบฟอร์ม ให้ไปที่ All Budget Request หรือ All Active Task จะปรากฏรายการของแบบฟอร์มต่างๆ จากนั้นคลิก View ที่ช่องด้านขวาของรายการ ดังภาพที่ 20

จะปรากฏข้อมูลทั้งหมดของแบบฟอร์ม ดังภาพที่ 21

-
Approval History
หากเลื่อนลงมาข้างล่างจะพบกับประวัติการอนุมัติทั้งหมดของ User อีกทั้งยังสามารถเรียกดูแบบฟอร์มที่ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ Workflow เพื่อการตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานของ Workflow ภายหลังได้ ดังภาพที่ 22

Tracking Form
การติดตามผลการดำเนินงาน ขั้นแรกให้ไปที่ได้ที่เมนู Listing เลือก All Active Task จะปรากฏข้อมูลทั้งหมดของการดำเนินงานการอนุมัติแบบฟอร์มทั้งหมด ดังภาพที่ 23

ภายใน All Active Task จะประกอบด้วย
- Request No. – แสดงหมายเลขแบบฟอร์มคำขอ
- Request Date – วันที่สร้างแบบฟอร์ม
- Request Department – แผนกที่ขอคำร้อง
- Objective – จุดประสงค์ของการจัดซื้อ
- Amount – งบประมาณทั้งหมดของแต่ละแบบฟอร์ม
- Status – แถบแสดงสถานะการดำเนินงาน
- Assignee – ผู้มีอำนาจอนุมัติ
- View – ดูข้อมูลของแบบฟอร์ม
ให้ทำการคลิกที่แถบเปอร์เซ็นสีเขียวเพื่อดูประวัติการดำเนินงานและเช็คสถานะของการดำเนินงานต่างๆ ดังภาพที่ 24

และสามารถตรวจสอบชื่อผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติคนปัจจุบันได้ที่หัวข้อ Assignee ดังภาพที่ 25

Budget Reports
ระบบ Joget จะทำการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดทำเป็นรายงานกราฟงบประมาณแบบ Layout บนหน้าแรก Dashboard ซึ่งมีชื่อว่า Budget Chart ดังภาพที่ 26

อีกทั้งยังสามารถเรียกดูแบบเต็มจอและอัพเดทข้อมูลได้ โดยการคลิกที่ ไอคอนขยายหน้าจอตรงมุมบนขวาของ Layout และไอคอนลูกศร 🔄 ดังภาพที่ 27

Download Budget Request Form
ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลแบบฟอร์มเป็นไฟล์ PDF ได้ที่เมนู All Budget Request หรือ My Budget Request จากนั้นคลิกดาวน์โหลดที่ช่อง Download PDF ด้านขวาของรายการ ดังภาพที่ 28

ระบบจะทำการสร้างแบบฟอร์มเอกสารและดาวน์โหลดเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเอกสารขึ้นมาจะพบกับข้อมูลต่างๆ ภายในแบบฟอร์ม พร้อมกับลายเซ็นของผู้ที่อนุมัติแบบฟอร์มทั้งหมด ดังภาพที่ 29

-
Automatic Storing in Document Library
เมื่อคลิก Download PDF ระบบจะทำการจัดเก็บเอกสารที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดลงสู่ Document Library และจัดทำ Custom type โดยอัตโนมัติ ดังภาพที่ 30

Budget Creation for Department (Admin Tools)
เมนู Budget เป็นเครื่องการจัดการงบประมาณของแผนกต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อการจัดสรรงบประมาณรายปี หรือตามที่กำหนดเวลาไว้ โดยผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงเครื่องมือการจัดการงบประมาณนี้ได้เท่านั้น ดังภาพที่ 31

เมนู Budget จะประกอบด้วย
- New (เพิ่มใหม่) – ปุ่มการสร้างงบประมาณใหม่เพื่อรองรับงบผระมาณที่หากหลาย
- Delete (ลบรายการที่เลือก) – ปุ่มงบประมาณของแผนกที่สิ้นสุดลงแล้ว มีข้อผิดพลาด หรือไม่ต้องการ
- Budget ID (เลขที่งบประมาณ) – แสดงเลขที่ของ
- Department (แผนก) – แสดงรายชื่อของแผนกภายในองค์กร
- Start Date (วันเริ่มต้นงบประมาณรายจ่าย) – แสดงวันเริ่มต้นการอนุญาตในการใช้งบประมาณ
- End Date (วันสิ้นสุดงบประมาณรายจ่าย) – วันหมดเขตงบประมาณ
- Budget Amount (งบประมาณโดยรวม) – จำนวนงบประมาณคงเหลือทั้งหมด
- Budget Used Amount (งบประมาณที่ใช้ไป) – งบประมาณที่ใช้ไปแล้ว
- Created Date (วันที่สร้าง) – วันที่สร้างงบประมาณรายจ่าย
- Created by (ผู้สร้าง) – แสดงชื่อผู้สร้างงบประมาณ
วิธีสร้างงบประมาณของแผนก อับดับแรกให้ทำการคลิกไปที่ปุ่ม New ด้านบนของตาราง จะปรากฏข้อมูลต่างๆ เพื่อระบุการกำหนดขอบเขตงบประมาณ ดังภาพที่ 32

การสร้างข้อมูลงบประมาณจะประกอบด้วย
- Department (หน่วยงาน) – แสดงแผนกที่ต้องการกำหนดงบประมาณ เช่น แผนกบัญชี แผนกเซลล์ หรือแผนกไอทีเป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกได้จากรายชื่อแผนกแบบ Drop down list
- Budget Amount (งบประมาณ) – ระบุจำนวนงบประมาณที่ถูกกำหนดไว้ (จำเป็นต้องระบุ)
- Start Date (วันที่เริ่มต้นงบประมาณ) – กำหนดวันที่เริ่มต้นของการใช้งบประมาณ (วันที่ต้องไม่ซ้ำกับแผนกอื่น)
- End Date (วันสิ้นสุดงบประมาณ) – กำหนดวันที่สิ้นสุดของการใช้งบประมาณ (วันที่ต้องไม่ซ้ำกับแผนกอื่น)
- Created By (ผู้สร้าง) – แสดงชื่อผู้ที่สร้างขอบเขตงบประมาณ
- Remark (หมายเหตุ) – ระบุหมายเหตุของงบประมาณนั้นๆ
เมื่อระบุข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อจัดทำงบประมาณทันที ดังภาพที่ 33

จะปรากฏข้อมูลงบประมาณของแผนกที่เลือกไว้ เพื่อการใช้งบประมาณประเภท Within Budget ดังภาพที่ 34

Managing Products (Admin Tools)
เมนู Product เป็นเครื่องที่ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างและจัดการสินค้าต่างๆ คำนวนราคาต่อชิ้น และภาษีที่จะแสดงผลบนเมนู Submit Budget Request เพื่อสะดวกต่อการจัดซื้อสินค้าที่จำเป็นภายในแผนกและคำนวนต้นทุนเพื่อจัดสรรค์งบประมาณทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย ดังภาพที่ 35

เมนู Products จะประกอบด้วยรายการข้อมูลดังต่อไปนี้
- New (เพิ่มใหม่) – ปุ่มสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
- Delete (ลบรายการที่เลือก) – ปุ่มลบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ
- Product ID (เลขที่สินค้า) – แสดงเลขที่ของสินค้าแต่ละชิ้น
- Product Name (ชื่อสินค้า) – แสดงรายชื่อของผลิตภัณฑ์
- Description (รายละเอียด) – แสดงคำอธิบายของข้อมูลผลิตภัณฑ์และรายละเอียดทั้งหมด
- Unit Price (ราคาต่อสิ้น) – แสดงราคาที่ยังไม่รวมภาษีต่อชิ้น
- VAT(%) (ภาษี) – แสดงภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ
- Created By (ผู้สร้าง) – แสดงชื่อผู้สร้างผลิตภัณฑ์
- Created Date (วันที่สร้าง) – แสดงรายการวันที่สร้างสินค้า
- Edit (แก้ไข) – แก้ไข้ข้อมูลสินค้าของแต่ละรายการ
อันดับแรกให้คลิกไปที่ปุ่ม New เพื่อเริ่มต้นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
จะปรากฏข้อมูลต่างๆ ที่ต้องระบุ ได้แก่ Product Name (ชื่อสินค้า), Description (รายละเอียดสินค้า), Unit Price (ราคาต่อชิ้น), VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม), Created By (ชื่อผู้สร้าง), Save (บันทึก), Cancel (ยกเลิกการสร้าง) ดังภาพที่ 36

เมื่อระบุข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ ให้คลิก Save เพื่อสร้างสินค้า จะปรากฏสินค้าใหม่พร้อมรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งจะปรากฏบนรายการสินค้าที่หน้า Submit Budget Request ดังภาพที่ 37
