What is Alfresco Feature/Add-on?
นอกจากการใช้งานเมนูหลักภายใน Site อย่างเช่น เมนู Document Library (คลังข้อมูล) หรือ เมนู Site Members (จัดการสมาชิกเว็บไซต์) ดังที่ได้แนะนำไว้ในเว็บไซต์คู่มือ Alfresco-WIKI ในบทความก่อนหน้านี้แล้วนั้น
ภายในเมนู Site ของระบบจัดการเนื้อหาและเอกสารสำหรับองค์กร Alfresco ยังมี Features หรือคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้น ให้ผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการ Site เลือกเพิ่มมาให้สมาชิกใน Site ได้ใช้งานร่วมกัน
และยังมี Add-on หรือฟังก์ชันการใช้งานเสริม ที่ Skytizens พัฒนาขึ้นมาใหม่เพิ่มเติมตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะต้องทำการติดตั้งเพิ่มเข้ามาในระบบโดยผู้ดูแลระบบ จึงจะสามารถใช้งานในระบบจัดการเอกสาร Alfresco ได้
การแสดงผล Features และ Add-on ภายใน Site จะปรากฎในตำแหน่งดังต่อไปนี้
- แสดงผล Features เป็น Dashlets (แผงควบคุมย่อย) ในหน้า Site Dashboard (แผงควบคุมเว็บไซต์) ภายใน Site โดยผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการใน Site จะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์เลือก Features มาแสดงผลเป็น Dashlets ของผู้ดูแลระบบ
The Calendar
เมนูปฏิทิน เป็น Features ที่ให้คุณกำหนดเวลานัดหมาย และติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นร่วมกันภายใน Site ได้ โดยผู้ใช้งานใน Site มีสิทธิ์ในการเพิ่มกำหนดการนัดหมายลงในปฏิทิน (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer)
ซึ่งกำหนดการที่เพิ่มในปฏิทินทั้งหมด จะมีสถานะเป็นสาธารณะ (Public) ทำให้ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกใน Site เดียวกัน จะมองเห็นกำหนดการในปฏิทินของ Site เหมือนกัน
โดยมีขั้นตอนการเพิ่ม แก้ไข และลบกำหนดการนัดหมายใน Calendar ดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Calendar (ปฏิทิน) ดังภาพที่ 3
(สำหรับบาง Site เมนู Calendar อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. เข้าสู่หน้ารายละเอียดปฏิทิน เบื้องต้นจะมีเครื่องมือสำหรับเลือกมุมมองในการดูรายละเอียดปฏิทิน ดังภาพที่ 4
- ตำแหน่งหมายเลข 1 แสดงปฏิทินเดือนปัจจุบัน สามารถคลิกสัญลักษณ์ เพื่อดูปฏิทินเดือนก่อนหน้า หรือ เพื่อดูเดือนถัดไปได้ หรือคลิกปุ่ม This Month (เดือนนี้) เพื่อกลับสู่การแสดงผลปฏิทินเดือนปัจจุบัน
- ตำแหน่งหมายเลข 2 คลิกเปลี่ยนมุมมองปฏิทิน ให้แสดงผลข้อมูลเป็นของ Today (วันนี้), Day (รายวัน), Week (รายสัปดาห์), Month (รายสัปดาห์) และ Agenda (ดูเฉพาะวาระนัดหมาย) ได้ และสามารถคลิกสัญลักษณ์ เพื่อดูข้อมูลก่อนหน้า หรือ ดูข้อมูลถัดไปได้
- ตำแหน่งหมายเลข 3 คลิกที่กำหนดการนัดหมายบนปฏิทิน เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้
3. การเพิ่มกำหนดการนัดหมายใหม่ในปฏิทิน ให้คลิกที่ปุ่ม Add Event (เพิ่มเหตุการณ์) หรือคลิกสัญลักษณ์ บริเวณปฏิทินในวันที่ต้องการ ดังภาพที่ 5
จะปรากฎหน้าต่าง Add Event (เพิ่มเหตุการณ์) ให้กรอกรายละเอียดกำหนดการนัดหมาย เช่น ชื่อกำหนดการ, สถานที่, รายละเอียด, วันและเวลาที่เริ่มและสิ้นสุด, Tags เหตุการณ์ เป็นต้น สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 6
กำหนดการที่เพิ่มใหม่ จะแสดงผลในหน้าปฏิทิน ดังภาพที่ 7
และหากผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการของ Site ได้เลือก Features Calendar มาแสดงผลเป็น Site Dashlets (แผงควบคุมย่อย) สมาชิกของ Site จะสามารถดูรายละเอียดกำหนดการต่าง ๆ ที่เพิ่มไว้ในปฏิทิน ที่หน้า Site Dashboard ได้โดยตรง ดังภาพที่ 8
4. การแก้ไขกำหนดการในปฏิทิน ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขกำหนดการเฉพาะที่ตนเองเป็นผู้สร้าง แต่สำหรับผู้ดูแลระบบ/ผู้จัดการของ Site จะมีสิทธิ์ในการแก้ไขทุกกำหนดการในปฏิทินได้
โดยคลิกที่กำหนดการที่ต้องการแก้ไขในปฏิทิน เมื่อปรากฎหน้าต่าง Event Information (ข้อมูลเหตุการณ์) ให้คลิกปุ่ม Edit (แก้ไข) จากนั้นทำการแก้ไขรายละเอียด หรือกำหนดวันเวลาใหม่ตามต้องการ สุดท้ายคลิกปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 9
5. การลบกำหนดการออกจากปฏิทิน ให้คลิกที่กำหนดการที่ต้องการลบในปฏิทิน เมื่อปรากฎหน้าต่าง Event Information (ข้อมูลเหตุการณ์) ให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ)
จากนั้น จะปรากฎหน้าต่าง Delete Event (ลบเหตุการณ์) เพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องของกำหนดการที่จะลบอีกครั้ง และให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ) ในหน้าต่างดังกล่าว เพื่อยืนยันการลบกำหนดการนั้น ๆ ออกจากปฏิทินอย่างถาวร ดังภาพที่ 10
The Wiki
เมื่อพูดถึงคำว่า Wiki หลาย ๆ ท่านคงนึกถึงสารานุกรม ที่ใช้ในการรวบรวมและแบ่งปันความรู้ด้านต่าง ๆ กันนะคะ
สำหรับในระบบจัดการเนื้อหาและเอกสารสำหรับองค์กร Alfresco นั้น ก็มีเมนู Wiki (วิกิ) ให้ใช้งานเช่นกัน โดยเป็นส่วนสำหรับจัดเก็บองค์ความรู้ คำจำกัดความ และข้อมูลประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ซึ่งระบบจะเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาสร้าง แก้ไข ตรวจสอบเนื้อหาและข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
1. การเข้าใช้งาน หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Wiki (วิกิ) ดังภาพที่ 11
(สำหรับบาง Site เมนู Wiki อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. การสร้างหน้า Wiki ใหม่ ผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกอยู่ใน Site มีสิทธิ์ในการเพิ่มหน้า Wiki ใหม่ (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer)
โดยหลังจากเข้าสู่หน้าหลักของ Wiki แล้ว ให้คลิกที่เมนู New Page (หน้าใหม่) ดังภาพที่ 12
จะปรากฎหน้าต่าง Create Wiki Page (สร้างหน้าวิกิ) ให้พิมพ์ชื่อหัวข้อในช่อง Title (ชื่อเรื่อง), กรอกรายละเอียดในช่อง Text (ตัวอักษร) ซึ่งมีเครื่องมือ Text Editor สำหรับตกแต่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ และด้านล่างจะมีช่องสำหรับใส่ Tags เพื่อจัดกลุ่มข้อมูล สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 13
หน้า Wiki ที่เพิ่มใหม่ จะแสดงผลในเมนู Wiki ดังภาพที่ 14
3. การเปลี่ยนชื่อหน้าบทความ Wiki ให้คลิกเข้าสู่หน้ารายละเอียดของ Wiki เรื่องที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Rename (เปลี่ยนชื่อ)
จะปรากฎหน้าต่างให้แก้ไขชื่อหน้าของ Wiki เมื่อเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 15
4. การแก้ไขเนื้อหาของหน้าบทความ Wiki ที่ได้เพิ่มไว้แล้ว หลังจากคลิกเข้าสู่หน้ารายละเอียดของ Wiki เรื่องที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Edit Page (แก้ไขหน้า) จะเข้าสู่หน้าสำหรับแก้ไขรายละเอียดและ Tags ได้ เมื่อจัดการข้อมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 16
5. การลบหน้า Wiki ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลในระบบอีกต่อไป ให้คลิกเข้าสู่หน้ารายละเอียดของ Wiki เรื่องที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่างใหม่ให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบหน้า Wiki นี้ ดังภาพที่ 17
6. การจัดการหน้า Wiki Main Page (หน้าหลัก) สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป เมื่อคลิกเข้ามาที่เมนูหลัก Wiki ภายใน Site แล้ว จะเห็นเมนู Main Page แสดงผลเป็นหน้าเริ่มต้นหน้าแรก ซึ่งหากใน Wiki ของ Site มีเนื้อหาใหม่ หรือเรื่องที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ควรทราบ ผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการ Site สามารถใส่ Link รวมข้อมูลเหล่านี้ลงในหน้า Wiki Main Page เพื่อให้สมาชิก Site สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย
โดยในหน้าเมนู Main Page ให้คลิกที่เมนู Edit Page (แก้ไขหน้า) ดังภาพที่ 18
จากนั้นจะปรากฎส่วนสำหรับใส่ข้อมูลให้กับหน้า Main Page พร้อมเครื่องมือ Text Editor เช่นเดียวกับการสร้างหน้า Wiki ใหม่ เมื่อจัดการรายละเอียดตามต้องการแล้ว สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 19
เมื่อกลับสู่หน้า Wiki Main Page จะแสดงผลข้อมูลล่าสุดที่อัพเดท ดังภาพที่ 20
7. การเข้าถึงข้อมูลในหน้า Wiki Page List (รายการหน้าวิกิ) ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดบทความ Wiki ทั้งหมด รวมถึงการแก้ไขจัดการบทความ Wiki ที่ต้องการได้ที่ส่วนนี้ด้วย
โดยเมื่อคลิกเข้าสู่เมนูหลัก Wiki แล้ว จากนั้นให้คลิกที่เมนู Wiki Page List (รายการหน้าวิกิ) ดังภาพที่ 21
จะแสดงผลเมนูสำหรับเข้าถึงข้อมูลบทความ Wiki ต่าง ๆ ดังภาพที่ 22
- ตำแหน่งหมายเลข 1 Pages (หน้า) เลือกการแสดงผลบทความ Wiki เรียงลำดับตาม Recently Modified (แก้ไขล่าสุด), All (แสดงผลทั้งหมด), Recently Added (เพิ่มล่าสุด) และ My Pages (หน้าของฉัน) ซึ่งเป็นการแสดงผลเฉพาะบทความ Wiki ที่เราเป็นผู้สร้าง
- ตำแหน่งหมายเลข 2 Main Page (หน้าหลัก) คลิกเพื่อกลับไปยังหน้าหลักของ Wiki ได้
- ตำแหน่งหมายเลข 3 New Page (หน้าใหม่) สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถคลิกสร้างหน้าบทความ Wiki เรื่องใหม่ ได้จากปุ่มนี้
- ตำแหน่งหมายเลข 4 Tags สำหรับบทความ Wiki ที่มีการสร้าง Tags เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้ จะสามารถคลิกที่ชื่อ Tags ที่ต้องการ เพื่อดูบทความ Wiki ที่เกี่ยวข้องกับ Tags นั้น ๆ ได้
- ตำแหน่งหมายเลข 5 คลิกที่ชื่อของบทความ Wiki เพื่อดูรายละเอียดเนื้อหาของบทความนั้น ๆ ในรูปแบบเต็มได้
- ตำแหน่งหมายเลข 6 เครื่องมือจัดการบทความ Wiki สำหรับผู้ใช้งานที่ได้รับสิทธิ์ สามารถคลิกแก้ไข ดูรายละเอียด และลบบทความ Wiki ได้จากส่วนนี้โดยตรง
8. การแสดงผล Wiki Dashlets ในเมนู Site Dashboard หากผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการของ Site ได้เลือก Features Wiki มาแสดงผลเป็น Site Dashlets (แผงควบคุมย่อย ) สมาชิกของ Site จะสามารถดูรายละเอียดเนื้อหาบทความ Wiki ในหน้า Site Dashboard ได้ ดังภาพที่ 23
The Discussions
เมนูการสนทนา เป็นส่วนสำหรับตั้งกระทู้หรือข้อคำถามต่าง ๆ ภายใน Site โดยสมาชิก Site มีสิทธิ์ในการสร้างกระทู้คำถามใหม่ และสามารถตอบกลับ แลกเปลี่ยนความรู้ หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้ที่ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ เป็นผู้ตั้งขึ้นได้อย่างอิสระ (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer) โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Discussions (การสนทนา) ดังภาพที่ 24
(สำหรับบาง Site เมนู Discussions อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. เข้าสู่หน้าแสดงกระทู้การสนทนา เบื้องต้นจะมีเครื่องมือสำหรับเลือกมุมมองในการดูรายละเอียดของกระทู้การสนทนา ดังภาพที่ 25
- ตำแหน่งหมายเลข 1 Topics (กระทู้) เลือกการแสดงผลกระทู้ ให้เรียงลำดับตาม New (กระทู้ใหม่ล่าสุด), Most Active (ใช้งานมากที่สุด), All (แสดงผลทั้งหมด), และ My Topics (กระทู้ของฉัน) ซึ่งเป็นการแสดงผลเฉพาะกระทู้ที่เราเป็นผู้สร้าง
- ตำแหน่งหมายเลข 2 เลือกมุมมองการแสดงรายละเอียดกระทู้ ระหว่าง Simple View (มุมมองแบบง่าย) ซึ่งจะแสดงเฉพาะหัวข้อกระทู้ วันที่ เวลา และชื่อผู้ตั้งกระทู้เท่านั้น กับมุมมองแบบ Detailed View (มุมมองแบบรายละเอียด) ที่จะแสดงเนื้อหาของกระทู้ในหน้าการสนทนาด้วย
- ตำแหน่งหมายเลข 3 ปุ่ม View (เรียกดู) และ Read (อ่าน) สามารถคลิกที่ 2 ปุ่มนี้ เพื่อเข้าดูรายละเอียดและความคิดเห็นในกระทู้ที่ต้องการได้
- ตำแหน่งหมายเลข 4 ปุ่ม Tags สำหรับกระทู้ที่มีการสร้าง Tags เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้ จะสามารถคลิกที่ชื่อ Tags ที่ต้องการ เพื่อดูกระทู้ ที่เกี่ยวข้องกับ Tags นั้น ๆ ได้
3. การสร้างกระทู้สนทนาใหม่ ให้คลิกที่ปุ่ม New Topics (กระทู้ใหม่) ดังภาพที่ 26
จะเข้าสู่หน้า Create New Topic (ตั้งกระทู้ใหม่) ให้พิมพ์ชื่อหัวข้อในช่อง Title (ชื่อเรื่อง), กรอกรายละเอียดในช่อง Text (ตัวอักษร) ซึ่งมีเครื่องมือ Text Editor สำหรับตกแต่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ และด้านล่างจะมีช่องสำหรับใส่ Tags เพื่อจัดกลุ่มข้อมูล สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 27
กระทู้ที่สร้างใหม่ จะแสดงภายใต้เมนู Discussions (การสนทนา) ดังภาพที่ 28
และหากผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการของ Site ได้เลือก Features Discussions มาแสดงผลเป็น Site Dashlets (แผงควบคุมย่อย) สมาชิกของ Site จะสามารถสร้างกระทู้ และดูรายละเอียดหัวข้อกระทู้ต่าง ๆ ที่หน้า Site Dashboard ได้โดยตรง ดังภาพที่ 29
4. การตอบกระทู้ สมาชิกของ Site ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถคลิกตอบ หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้ต่าง ๆ ได้ โดยคลิกปุ่ม View (เรียกดู) และ Read (อ่าน) เพื่อเข้าสู่หน้ารายละเอียดกระทู้ที่ต้องการ
จากนั้นคลิกคำสั่ง Reply (ตอบ) จะปรากฎช่อง Add Reply (เพิ่มคำตอบ) ให้คุณพิมพ์ข้อความลงในช่องดังกล่าว และคลิกปุ่ม Create (สร้าง) เพื่อยืนยันการตอบกระทู้ ดังภาพที่ 30
5. การแก้ไขกระทู้ ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขกระทู้ที่ตนเองเป็นผู้สร้าง และสำหรับผู้ดูแลระบบ/ผู้จัดการของ Site จะมีสิทธิ์ในการแก้ไขทุกกระทู้ในเมนูการสนทนาได้
โดยคลิกที่เมนู Edit (แก้ไข) บริเวณกระทู้ที่ต้องการ จะเข้าสู่หน้าสำหรับแก้ไขหัวข้อกระทู้ รายละเอียด และ Tags เมื่อจัดการข้อมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 31
6. การลบกระทู้ ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลในระบบอีกต่อไป ในหน้า Discussions Topic List (รายการกระทู้สนทนา) ที่รวมทุกกระทู้ หรือในหน้ารายละเอียดกระทู้ที่ต้องการลบ ให้คลิกที่เมนู Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่างใหม่ให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบกระทู้นี้ ดังภาพที่ 32
The Blog
โดยทั่วไป บล็อก คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะแสดงผลข้อมูลเรียงลำดับตามเวลาในการเผยแพร่ คล้ายกับการเขียนบันทึกหรือไดอารี่ออนไลน์
และสำหรับเมนู Blog ในระบบจัดการเนื้อหาและเอกสารสำหรับองค์กร Alfresco นั้น จะมีพื้นที่ให้ผู้ใช้งานได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือนำเสนอข้อมูลความรู้ ความสนใจ มาแบ่งปันให้สมาชิกรายอื่น ๆ ภายใน Sitet ได้อ่าน รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน ผ่านการคอมเมนต์ได้ (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer) โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Blog (บล็อก) ดังภาพที่ 33
(สำหรับบาง Site เมนู Blog อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. เข้าสู่หน้าแสดงบทความใน Blog เบื้องต้นจะมีเครื่องมือสำหรับเลือกมุมมองในการดูรายละเอียดของ Blog ดังภาพที่ 34
- ตำแหน่งหมายเลข 1 Posts (เรื่องราว) เลือกการแสดงผลเนื้อหา Blogs แบบ All (แสดงผลทั้งหมด), Latest (การเพิ่มล่าสุด), My Drafts (แบบร่างของฉัน) คือ Blog ที่เราบันทึกโครงร่างไว้และยังไม่เผยแพร่ และ My Published (เรื่องที่เผยแพร่แล้วของฉัน) ซึ่งเป็นการแสดงผลเฉพาะ Blog เรื่องที่เราเป็นผู้สร้างและกดเผยแพร่เรื่องราวแล้ว
- ตำแหน่งหมายเลข 2 เลือกมุมมองการแสดงรายละเอียด Blog ระหว่าง Simple View (มุมมองแบบง่าย) ซึ่งจะแสดงเฉพาะชื่อเรื่อง วันที่ เวลา และชื่อผู้เขียน Blog เท่านั้น กับมุมมองแบบ Detailed View (มุมมองแบบรายละเอียด) ที่จะแสดงเนื้อหาของ Blog แบบย่อด้วย
- ตำแหน่งหมายเลข 3 คลิกที่ชื่อ Blog หรือคำสั่ง Read (อ่าน) เพื่อเข้าดูรายละเอียดและความคิดเห็นใน Blog ที่ต้องการได้
- ตำแหน่งหมายเลข 4 ปุ่ม Tags สำหรับ Blog เรื่องที่มีการสร้าง Tags เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้ จะสามารถคลิกที่ชื่อ Tags ที่ต้องการ เพื่อดูการแสดงผล Blog ที่เกี่ยวข้องกับ Tags นั้น ๆ ได้
3. การสร้างเรื่องราว Blog ใหม่ ให้คลิกที่ปุ่ม New Post (เรื่องราวใหม่) ดังภาพที่ 35
จะเข้าสู่หน้า Create Blog Post (สร้างเรื่องราว) ให้พิมพ์ชื่อหัวข้อในช่อง Title (ชื่อเรื่อง), กรอกรายละเอียดในช่อง Text (ตัวอักษร) ซึ่งมีเครื่องมือ Text Editor สำหรับตกแต่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ และด้านล่างจะมีช่องสำหรับใส่ Tags เพื่อจัดกลุ่มข้อมูล
สุดท้าย เลือกคลิกที่ปุ่ม Save as Draft (บันทึกเป็นร่าง) เพื่อสร้างเป็นโครงร่างไว้รอการแก้ไขต่อภายหลัง โดยผู้อ่านจะยังมองไม่เห็น Blog เรื่องนี้
หรือคลิกปุ่ม Publish Internally (เผยแพร่ภายใน) เพื่อบันทึกและเผยแพร่ให้สมาชิกใน Site เข้าอ่าน Blog เรื่องนี้ได้ทันที ดังภาพที่ 36
Blog เรื่องใหม่ จะแสดงภายใต้เมนู Blog (บล็อก) ดังภาพที่ 37 โดย Blog เรื่องที่ถูก Publish Internally แล้ว จะเผยแพร่ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ คลิกอ่านได้
ส่วน Blog เรื่องที่ถูกบันทึกเป็นแบบร่างไว้ จะแสดงผลให้เฉพาะผู้สร้าง มองเห็นเท่านั้น โดยจะมีคำว่า จะมีคำว่า (Draft) ต่อท้ายชื่อเรื่อง Blog
4. การแก้ไข Blog ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข Blog ที่ตนเองเป็นผู้สร้าง และสำหรับผู้ดูแลระบบ/ผู้จัดการของ Site จะมีสิทธิ์ในการแก้ไข Blog ทุกเรื่องได้
โดยคลิกที่เมนู Edit (แก้ไข) บริเวณ Blog เรื่องที่ต้องการ จะเข้าสู่หน้าสำหรับแก้ไขชื่อเรื่อง รายละเอียด และ Tags เมื่อจัดการข้อมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Update (ปรับปรุง) ดังภาพที่ 38 หรือหากแก้ไข Blog ที่เป็นแบบร่างอยู่ จะปรากฎปุ่มให้เลือกเผยแพร่เนื้อหาเป็นสาธารณะได้
5. การลบ Blog ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลในระบบอีกต่อไป ในหน้า Blog Post List (รายการเรื่องราวในบล็อก) ที่รวม Blog ทั้งหมด หรือในหน้ารายละเอียด Blog ที่ต้องการลบ ให้คลิกที่เมนู Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่างใหม่ให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบกระทู้นี้ ดังภาพที่ 39
6. การอ่านและแสดงความคิดเห็นใน Blog สมาชิกของ Site ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถคลิกอ่านและแสดงความคิดเห็นใน Blog ต่าง ๆ ได้ โดยคลิกที่ชื่อหัวข้อ Blog หรือคลิกคำสั่ง Read (อ่าน) เพื่อเข้าสู่หน้ารายละเอียด Blog เรื่องที่ต้องการ
บริเวณใต้ส่วนเนื้อหาของ Blog ให้คลิกปุ่ม Add Comment (เพิ่มความคิดเห็น) จะปรากฎช่อง Add Your Comment (แสดงความคิดเห็น) ให้คุณพิมพ์ข้อความลงในช่องดังกล่าว และคลิกปุ่ม Add Comment (เพิ่มความคิดเห็น) เพื่อยืนยันการส่งความคิดเห็น ดังภาพที่ 40
Site Links
เมนู Links (ลิงก์) ใน Site ใช้สำหรับสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กรตามต้องการ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิก Site สามารถเรียกดูและเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานได้อย่างง่าย แค่คลิก Links เหล่านี้
โดยสมาชิก Site มีสิทธิ์ในการสร้าง Links ใหม่ และสามารถตอบแสดงความคิดเห็นในหน้ารายละเอียด Link ที่ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ เป็นผู้สร้างได้ (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer)
โดยมีขั้นตอนการจัดการและใช้งานเมนู Links ดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Links (ลิงก์) ดังภาพที่ 41
(สำหรับบาง Site เมนู Links อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. เข้าสู่หน้าแสดงข้อมูล Links เบื้องต้นจะมีเครื่องมือสำหรับเลือกมุมมองในการดูรายละเอียดของ Links ดังภาพที่ 42
- ตำแหน่งหมายเลข 1 Links (ลิงก์) เลือกการแสดงผล Links ที่ได้เพิ่มไว้ แบบ All Links (แสดงผลลิงก์ทั้งหมด), My Links (ลิงก์ของฉัน) ซึ่งเป็นการแสดงผลเฉพาะ Links ที่เราเป็นผู้สร้าง และ Recently Added (ลิงก์ที่เพิ่มล่าสุด)
- ตำแหน่งหมายเลข 2 เลือกมุมมองการแสดงรายละเอียด Links ระหว่าง Simple View (มุมมองแบบง่าย) ซึ่งจะแสดงเฉพาะชื่อ และ URL ของ Links เท่านั้น กับมุมมองแบบ Detailed View (มุมมองแบบรายละเอียด) ที่จะแสดงข้อมูลวันที่ เวลา ผู้สร้างลิงก์ รายละเอียด และ Tags Links ด้วย
- ตำแหน่งหมายเลข 3 คลิกที่ Link Title เพื่อเข้าดูรายละเอียดและความคิดเห็นในหน้า Links ที่ต้องการได้
- ตำแหน่งหมายเลข 4 คลิกที่ Link URL เพื่อลิงก์ไปสู่หน้าเว็บไซต์ปลายทางตามที่กำหนดไว้ได้
- ตำแหน่งหมายเลข 5 ปุ่ม Tags สำหรับข้อมูล Links ที่มีการสร้าง Tags เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้ จะสามารถคลิกที่ชื่อ Tags ที่ต้องการ เพื่อดูลิสต์รายการ Links ที่เกี่ยวข้องกับ Tags นั้น ๆ ได้
3. การสร้าง Links ใหม่ ให้คลิกที่ปุ่ม New Link (ลิงก์ใหม่) ดังภาพที่ 43
จะเข้าสู่หน้า Create Link (สร้างลิงก์) จากนั้น
– หัวข้อ Title (ชื่อเรื่อง): พิมพ์ชื่อหัวข้อ Link
– หัวข้อ URL: กรอก URL ที่อยู่เว็บไซต์ปลายทางที่ต้องการให้ลิงก์ไปถึง
– หัวข้อ Description (คำอธิบาย): ใส่รายละเอียดคำอธิบายเกี่ยวกับ Link นี้เพิ่มเติม
– หัวข้อ Internal (ภายใน): หากเป็นการสร้างลิงก์ภายในระบบจัดการเอกสาร Alfresco คุณคลิกทำเครื่องหมายกาถูกที่หัวข้อนี้ จะทำให้เมื่อคลิก URL แล้ว หน้าเว็บไซต์ถูกเปิดในหน้าต่าง Browser เดิม ซึ่งจะทับหน้าระบบจัดการเอกสาร Alfresco
– หัวข้อ Tags (ป้ายกำกับ): ใส่คีย์เวิร์ด เพื่อให้ระบบสร้างลิงก์สำหรับจัดกลุ่มข้อมูล
สุดท้ายคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 44
ข้อมูลลิงก์ที่สร้างใหม่ จะแสดงผลภายใต้เมนู Links (ลิงก์) ดังภาพที่ 45
และหากผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการของ Site ได้เลือก Features Link (ลิงก์เว็บไซต์) มาแสดงผลเป็น Site Dashlets (แผงควบคุมย่อย) สมาชิกของ Site จะสามารถคลิกดูรายละเอียดลิงก์ หรือสร้างลิงก์ใหม่ ที่หน้า Site Dashboard ได้โดยตรง ดังภาพที่ 46
4. การแก้ไข Links ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข Links ที่ตนเองเป็นผู้สร้าง และสำหรับผู้ดูแลระบบ/ผู้จัดการของ Site จะมีสิทธิ์ในการแก้ไข Links ทุกรายการได้
โดยคลิกที่เมนู Edit (แก้ไข) บริเวณ Links ที่ต้องการ จะเข้าสู่หน้าสำหรับแก้ไขชื่อเรื่อง, URL, รายละเอียด, การเปิดหน้าต่างลิงก์ และ Tags เมื่อจัดการข้อมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Update (ปรับปรุง) ดังภาพที่ 47
5. การลบ Links ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลในระบบอีกต่อไป ในหน้า Links List (รายการลิงก์) ที่รวม Link ทั้งหมด หรือในหน้ารายละเอียด Link ที่ต้องการลบ ให้คลิกที่เมนู Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่างใหม่ให้คลิกปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบกระทู้นี้ ดังภาพที่ 48
6. การแสดงความคิดเห็นใน Link สมาชิกของ Site ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถคลิกดูรายละเอียดและแสดงความคิดเห็นในรายการ Link ต่าง ๆ ได้ โดยคลิกที่ชื่อหัวข้อ Link เพื่อเข้าสู่หน้ารายละเอียด Link รายการที่ต้องการ
บริเวณใต้ส่วนเนื้อหาของ Link ให้คลิกปุ่ม Add Comment (เพิ่มความคิดเห็น) จะปรากฎช่อง Add Your Comment (แสดงความคิดเห็น) ให้คุณพิมพ์ข้อความลงในช่องดังกล่าว และคลิกปุ่ม Add Comment (เพิ่มความคิดเห็น) เพื่อยืนยันการส่งความคิดเห็น ดังภาพที่ 49
Data Lists
เมนูรายการข้อมูล ให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแสดงผลกลุ่มรายการข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันภายใน Site เช่น ข้อมูลการติดต่อ, ข้อมูลกำหนดการนัดหมาย, ข้อมูลรายการงานที่ต้องทำ เป็นต้น
โดยสมาชิก Site มีสิทธิ์ในการสร้าง Data Lists และใส่ข้อมูลของตนเอง และสามารถดูข้อมูลที่เพิ่มโดยผู้ใช้รายอื่น ๆ ภายใน Site ได้ (ยกเว้นผู้ใช้งานที่มี Role เป็น Consumer หรือผู้เข้าชม และ Low Consumer) ซึ่งมีขั้นตอนในการใช้งานดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Data Lists (รายการข้อมูล) ดังภาพที่ 50
(สำหรับบาง Site เมนู Data Lists อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. การเพิ่ม Data List ใหม่ คลิกที่ปุ่ม New List (รายการใหม่) จะปรากฎหน้าต่าง New List (รายการใหม่) ให้เลือกชนิดของลิสต์รายการที่ต้องการสร้าง จากนั้นให้พิมพ์ข้อมูลชื่อหัวข้อ (Title) และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการข้อมูล (Description) แล้วคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 51
ชนิดของ Data List (รายการข้อมูล) ที่สามารถสร้างในระบบ Alfresco ได้ มีดังนี้
- Contact List สร้างรายการข้อมูลรายชื่อเพื่อการติดต่อ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อ, นามสกุล, อีเมล, ชื่อบริษัท, ตำแหน่งงาน, เบอร์โทรศัพท์สำนักงาน, เบอร์โทรศัพท์มือถือ และโน้ตข้อความ
- Event Agenda สร้างรายการข้อมูลสำหรับแจ้งการจัดงานอีเวนต์ หรืองานสัมมนาต่าง ๆ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่องาน, เวลาเริ่ม, เวลาสิ้นสุด, ชื่อเซสชั่น, ผู้นำเสนองาน, ผู้เข้าฟัง, ไฟล์แนบ และโน้ตข้อความ
- Event List สร้างรายการข้อมูลสำหรับลิสต์รายการงานต่าง ๆ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่องาน, คำอธิบายรายละเอียดงาน, ตำแหน่ง, วันและเวลาที่เริ่ม, วันและเวลาที่สิ้นสุดงาน, รายละเอียดการลงทะเบียน, ไฟล์แนบ และโน้ตข้อความ
- Issue List สร้างรายการข้อมูลบันทึกรายการงานต่าง ๆ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ เลขไอดี Issue, ชื่องาน, เลือกชื่อผู้รับมอบหมายงาน, สถานะการดำเนินงาน, ระดับความสำคัญ, คำอธิบายรายละเอียดงาน, กำหนดส่ง, ช่องแสดงความคิดเห็น และเลือกไฟล์แนบ
- Location List สร้างรายการข้อมูลสถานที่ ที่อยู่สำหรับติดต่อ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อเรื่อง, ข้อมูลที่อยู่, รหัสไปรษณีย์, รัฐ/เขต, ประเทศ, คำอธิบายเพิ่มเติม และไฟล์แนบ
- Meeting Agenda สร้างรายการข้อมูลสำหรับแจ้งวาระการประชุม รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ หัวข้ออ้างอิง, ชื่อเรื่อง, คำอธิบาย, เวลา (นาที), ผู้ดูแลการจัดประชุม, และไฟล์แนบ
- Site Messages สร้างรายการข้อมูลแจ้งข้อความภายใน Site รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อหัวข้อ, คำอธิบาย, วันและเวลาเริ่มต้น, วันและเวลาสิ้นสุด, ข้อมูลไซต์, และระดับความสำคัญ
- System Messages สร้างรายการข้อมูลแจ้งข้อความที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ อหัวข้อ, คำอธิบาย, วันและเวลาเริ่มต้น, วันและเวลาสิ้นสุด, ข้อมูลไซต์, และระดับความสำคัญ
- Task List (Advanced) สร้างรายการข้อมูลบันทึกรายการงานที่ต้องทำโดยละเอียด รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อเรื่อง, คำอธิบาย, วันที่เริ่มงาน, ผู้รับผิดชอบงาน, ระดับความสำคัญ, ความคืบหน้าของงาน (เป็นเปอร์เซ็นต์), ช่องแสดงความคิดเห็น และเลือกไฟล์แนบ
- Task List (Simple) สร้างรายการข้อมูลบันทึกรายการงานที่ต้องทำโดยย่อ รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อเรื่อง, คำอธิบาย, วันที่กำหนดส่งงาน, ระดับความสำคัญ, สถานะการดำเนินงาน และช่องแสดงความคิดเห็น
- To Do List สร้างรายการข้อมูลบันทึกสิ่งต้องทำอย่างง่าย รองรับการใส่ข้อมูล ได้แก่ ชื่อเรื่อง, วันที่และเวลาที่กำหนดส่งงาน, ระดับความสำคัญ (กรอกข้อมูลเป็นตัวเลข), สถานะการดำเนินงาน, ผู้รับผิดชอบงาน, และไฟล์แนบ
Data List ที่สร้างเสร็จ จะแสดงผลเป็นเมนู อยู่ภายใต้คอลัมน์ List ดังภาพที่ 52
และหากผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการของ Site ได้เลือก Features Data Lists มาแสดงผลเป็น Site Dashlets (แผงควบคุมย่อย) สมาชิกของ Site จะสามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดรายการข้อมูล ในหน้า Site Dashboard ได้ ดังภาพที่ 53
3. การเพิ่ม New Item (ไฟล์ใหม่) เพื่อบันทึกรายละเอียดรายการข้อมูลย่อย ให้คลิกที่รายการ Data List ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู New Item (ไฟล์ใหม่) จะปรากฎหน้าต่าง Create New Item (สร้างไฟล์ใหม่) ให้กรอกรายละเอียดในหัวข้อต่าง ๆ ให้ครบถ้วน (ซึ่งหัวข้อจะแตกต่างตามประเภทของ Data List ที่เลือก) และคลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 54
รายการข้อมูลที่สร้างเสร็จ จะแสดงผลภายใต้เมนู Data List ดังภาพที่ 55
4. การแก้ไข Data Item (รายการข้อมูล) ที่สร้างขึ้น ให้คลิกที่สัญลักษณ์ Edit (แก้ไข) ที่รายการข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฎหน้าต่าง Edit Data Item (แก้ไขไฟล์ข้อมูล) ให้แก้ไขรายละเอียดตามต้องการ สุดท้าย คลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 56
5. การทำซ้ำ Data Item (รายการข้อมูล) สามารถสร้างรายการข้อมูลใหม่จากรายการเดิมที่มีอยู่แล้วด้วยการทำซ้ำ (Duplicate) โดยคลิกที่สัญลักษณ์ Duplicate (ทำซ้ำ) ที่รายการข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฎรายการข้อมูลใหม่ที่เหมือนกันแสดงผล (เสมือนการคัดลอกและสร้างใหม่ในทันที) ช่วยให้ประหยัดเวลาในการสร้างข้อมูลใหม่ ซึ้งผู้ใช้สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลในรายการที่ถูกทำซ้ำได้ ดังภาพที่ 57
6. การลบ Data Item (รายการข้อมูล) ที่ไม่ต้องการใช้งาน ออกจาก Data List ให้คลิกที่สัญลักษณ์ Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่าง Delete Item (ลบไฟล์) จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบ ดังภาพที่ 58
7. การลบ Data Lists หรือชุดรายการข้อมูลออกจาก Site ให้คลิกที่สัญลักษณ์ Delete (ลบ) จะปรากฎหน้าต่าง Delete Item (ลบไฟล์) จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Delete (ลบ) เพื่อยืนยันการลบ ดังภาพที่ 59
Site Messages
ข้อความแสดงในเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่ง Features ที่จะช่วยแจ้งเตือนกำหนดการหรือนัดหมายต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานภายใน Site ได้อย่างง่าย
โดยผู้ดูแลระบบ (Administrator) หรือผู้ใช้งานที่มี Role เป็นผู้จัดการ (Manager) ของ Site จะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในการสร้างข้อความ และกำหนดวันที่และเวลาเพื่อแสดงประกาศได้ โดยมีขั้นตอนการตั้งค่าดังนี้
1. หลังจาก Login เข้าสู่ระบบจัดการเอกสาร Alfresco แล้ว ให้คลิกที่เมนู Sites (เว็บไซต์) และคลิกเข้าสู่ Site ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่เมนู Site Messages (ข้อความแสดงในเว็บไซต์) ดังภาพที่ 60
(สำหรับบาง Site เมนู Site Messages อาจแสดงผลภายใต้เมนู More… (เพิ่มเติม…) ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงลำดับเมนู Features ของผู้ดูแลระบบ)
2. การเพิ่มข้อความแจ้งเตือนใหม่ คลิกที่ปุ่ม New Message (ข้อความใหม่) จะปรากฎหน้าต่างให้กรอกข้อมูล ได้แก่ Title (ชื่อหัวข้อ), Description (รายละเอียด), วันและเวลาที่ให้เริ่มต้นการแจ้งเตือน, วันและเวลาที่สิ้นสุดการแจ้งเตือน, และระดับความสำคัญของการแจ้งเตือน
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Save (บันทึก) ดังภาพที่ 61
จะแสดงผลรายการแจ้งเตือน ในส่วนจัดการของ Site ดังภาพที่ 62
3. การแสดงผลข้อความแจ้งเตือนแก่ผู้ใช้งาน เมื่อถึงช่วงเวลาที่ตั้งไว้ ผู้ใช้งานจะมองเห็นข้อความนี้ แสดงผลบริเวณด้านบนของทุกหน้าภายใน Site และจะแสดงผลจนกว่าจะถึงเวลาสิ้นสุดตามที่ได้ตั้งค่าไว้ หรือจนกว่าผู้ใช้งานจะคลิกปิดไป ดังภาพที่ 63
4. การแก้ไขและลบข้อความแจ้งเตือน ในเรคคอร์ดรายการข้อความแจ้งเตือนที่ต้องการ คอลัมน์ Actions (การกระทำ) จะมีลิงก์ Edit สำหรับให้คลิกแก้ไขข้อความแจ้งเตือน และลิงก์ Delete สำหรับลบข้อความแจ้งเตือนที่หมดเวลาประกาศ หรือไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป ดังภาพที่ 64
Skytizens custom features
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เราได้จัดเตรียมฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มเติมจาก Alfresco อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- ฟังก์ชันการแสดงผลเอกสารขั้นสูง มาพร้อมกับการเพิ่มคอมเมนต์ในหน้าเอกสาร
- การรองรับการใช้งานร่วมกับไฟล์ทุกนามสกุล
- กระบวนการ ISO เต็มรูปแบบ
- การจัดเก็บทำสำเนาอีเมล
- การรองรับการทำงานร่วมกับเอกสารบาร์โค้ด
- โซลูชั่น workflow พร้อมรายงานธุรกิจแบบ Real-time
- การเข้ารหัสข้อมูลระดับปลอดภัย
- การทำ OCR เอกสาร
- E-book
- Electronic & Digital Signature
- Watermark
และ Features การใช้งานอื่น ๆ อีกมากมาย หากท่านมีความสนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ alfresco-addons.skytizens.com